ผลของชนิดหัวเชื้อต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารระหว่างการหมักน้ำสกัดชีวภาพ

Authors

  • สุพัตรา เจริญภักดี Biology program, Faculty of Science and Technology, Pibulsongkramsongkram Rajabhat University, Playchumpol District, Muang, Phitsanulok, Thailand 65000
  • ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน Biotechnology program, Faculty of Science, Maejoe University, NhongHan district, Sunsay, Chiang Mai, Thailand 50290
  • อัจฉรียา ชมเชย Biology program, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University, Changpueak District, Muang, Chiang Mai, Thailand 50300
  • ชวิศ จิตรวิจารณ์ Biology program, Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat University, Changpueak District, Muang, Chiang Mai, Thailand 50300

Keywords:

น้ำสกัดชีวภาพ, ธาตุอาหารพืช, หัวเชื้อจุลินทรีย์, bio-extract, plant nutrient, microorganism starter

Abstract

บทคัดย่อ

จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำ ไปใช้ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกหัวเชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้นสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ในการผลิต น้ำสกัดชีวภาพ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ สูตร MMO-01 MMO-02 MMO-03 พด.2 และพด.3 เปรียบเทียบกับการ หมักด้วยน้ำเปล่า (จุลินทรีย์ทั่วไปที่มีอยู่เดิม) โดยใช้เศษผักและผลไม้สุกเป็นวัตถุดิบ ทดสอบนาน 8 สัปดาห์ ใน ถังหมักขนาด 30 ลิตร วิเคราะห์คุณภาพของน้ำสกัดชีวภาพแต่ละสูตรทุกสัปดาห์ พบว่าหัวเชื้อสูตร MMO-02 สามารถใช้ผลิตน้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพดีที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้หัวเชื้อสูตรอื่นๆ เนื่องจากมีค่าความเป็น กรด-ด่างต่ำ (3.99) ค่าการนำไฟฟ้าสูง (15.06 dS/m) และให้ปริมาณสารอาหารมากที่สุด ได้แก่ อินทรีย์วัตถุ (13.78%) ไนโตรเจนทั้งหมด (0.28%) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (0.08%) โพแทสเซียมทั้งหมด (1.18%) แคลเซียม ทั้งหมด (0.24%) และแมกนีเซียมทั้งหมด (0.20%) น้ำสกัดชีวภาพที่ได้สามารถยับยั้งการเจริญของ Salmonella- Shigella spp. ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 และเมื่อสิ้นสุดการหมักในสัปดาห์ที่ 5 ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียแลกติกจำ นวน 7.94 (log[cfu/ml]) และไม่พบเชื้อก่อโรค Escherichia coli ปนเปื้อน หัวเชื้อสูตร MMO-02 เหมาะสมที่สุดในการ ผลิตน้ำสกัดชีวภาพจากเศษผักและผลไม้สุก

คำสำคัญ: น้ำสกัดชีวภาพ ธาตุอาหารพืช หัวเชื้อจุลินทรีย์

 

Abstract

Available form of nutrients were released during bio-extract fermentation by effective microorganism. The aim of this study was comparing of different commercial starters for bio-extract production from raw materials composing of vegetable residues and ripened fruits in Chiang Mai province, Thailand. Five Instant microorganism starters (MMO-01, MMO-02, MMO-03, PD.2 and PD.3) were evaluated their activities compared with control (local microorganism from water and raw materials) for 8 weeks in fermentor containing 30 liters. Subsequently, the quality of every formula of bio-extract was analyzed to select the most suitable bio-extract. The results showed that the MMO-02 produced the highest quality of bio-extract comparing to the other starters and higher than control significantly including low pH (3.99), high electrical conductivity (15.06 dS/m), organic matter content (13.78%), total nitrogen (0.28%), total phosphorus (0.08%), total potassium (1.18%), total calcium (0.24%) and total magnesium (0.20 %). Lactic acid bacteria was detected as 7.94 (log[cfu/ml]) while the growth of Salmonella-Shigella spp. was inhibited since week 1 and no Escherichia coli contaminated. Then, only 5 weeks of fermentation, effective microorganisms could release a lot of available plant nutrients from raw materials. Therefore, MMO-02 is suitable for bio-extract production from vegetable residues and ripened fruits.

Key word: bio-extract, plant nutrient, microorganism starter

Downloads

How to Cite

เจริญภักดี ส., วงศ์พุทธิสิน ไ., ชมเชย อ., & จิตรวิจารณ์ ช. (2014). ผลของชนิดหัวเชื้อต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารระหว่างการหมักน้ำสกัดชีวภาพ. Life Sciences and Environment Journal, 12(1), 42–57. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17030

Issue

Section

บทความวิชาการ