ปัจจัยเชิงสาเหตุของความพรัอมในการเขัาสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม
  • กุลกนก มณีวงศ์ คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม

Keywords:

ประชาคมอาเซียน, การเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน, เยาวชนจังหวัดเชียงใหม่, ASEAN community, ASEAN citizens, grade 12 students, readiness model

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กล่มตัวอย'างที่ใช1ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 400 คน ได1มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า เส้นอิทธิพลมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกตัวแปร และมีค่าการทดสอบความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ทุกค่า โดยโมเดลสุดท1ายมีค่าไค-สแควร (χ2) = 219.74, df = 119, p-value =0.00; RMSEA = 0.05; SRMR= 0.05; GFI = 0.94; AGFI = 0.92; และ CN = 296.71 ซึ่งตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดต่อความพร้อมในการเข้าส่การเป3นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คือสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.60 รองลงมาคือ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เจตคติต่อการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนและความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.55 0.17และ 0.05 ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรทั้งหมดที่ศึกษาใช้ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 60

คำสำคัญ : ประชาคมอาเซียน; การเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน; เยาวชนจังหวัดเชียงใหม่

 

Abstract

This study investigated-using the causal structural model of readiness-whether Thai studentswere ready to become ASAN citizens. The subjects were 400 grade 12 students studying in bothprivate and government schools in Muang District, Chiangmai. A multi-stage sampling was used toselect the subjects. The results of the study were statistically significant at 0.05 in all variables. Themodel’s overall fits were acceptable; they were: Chi-square statistic = 219.74, df = 119, p-value =0.00; RMSEA 0.05; GFI = 0.94; CN = 296.71. In addition it confirmed that the environment of theinstitution most affected the readiness of the grade 12 learning, the attitude towards being ASEANcitizens (the path coefficient was 0.60). Then the inquiry learning, the attitude towards being ASEANcitizens, and the knowledge of ASEAN community were second. The path coefficients were at 0.55,0.17, and 0.05 respectively. Moreover, the results showed the causal factors in the model could beexplained at a level of 60% of predictability.

keywords : ASEAN community; ASEAN citizens; grade 12 students; readiness model

How to Cite

วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ ว., & มณีวงศ์ ก. (2014). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความพรัอมในการเขัาสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. Life Sciences and Environment Journal, 13(2), 50–64. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17029

Issue

Section

บทความวิจัย(มนุษย์ฯ)