การพัฒนาครูคณิตศาสตร์โดยวิธีสอนแบบใหม่
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง พื้นที่ผิวและ ปริมาตร กราฟ ระบบสมการเชิงเส้น และความคล้าย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โปรแกรม GSP ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70 :70 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนโดยวิธีสอน แบบใหม่กับสอนโดยวิธีสอนแบบปกติ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและครูคณิตศาสตร์ต่อการสอน โดยวิธีสอนแบบใหม่ และเพื่อพัฒนาครูคณิตศาสตร์ ให้มีความรู้สูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือกลุ่ม ตัวอย่างด้านนักเรียน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ในโรงเรียนพิณพลราษฎร์ตั้งตรงจิตร 12 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบใหม่ และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 33 คน เรียนโดย วิธีสอนแบบปกติ สอนโดยครูในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างด้านครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขยาย โอกาสในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 23 คนดำเนินการอบรมการสอนโดยวิธีสอนแบบใหม่โดยคณะผู้วิจัย กลุ่ม ตัวอย่างทั้งนักเรียนและครูได้มาจากการใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดการสอนที่ คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้โปรแกรม GSP แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ ต่อการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสถิติ t-test
ผลของการวิจัยพบว่าชุดการสอนโดยวิธีสอนแบบใหม่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.06 : 71.06 สูงกว่า เกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจ ต่อการสอนโดยวิธีสอนแบบใหม่ในระดับมากโดยมี ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจเท่ากับ 4.46 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และครู ที่เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจ ต่อการสอนโดยวิธีสอนแบบใหม่อยู่ ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจเท่ากับ4.45 เพื่อให้การแก้ปัญหาการสอนคณิตศาสตร์ ได้ดียิ่งขึ้น ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมโดยขยายเนื้อหาให้ครอบคลุมทุกรายวิชาทุกระดับชั้น รวมถึงมีการวิจัยการติดตามผลการ ใช้ชุดการสอนนี้ด้วย
Abstract
The purposes of this study were firstly , to create and study the efficiency of mathematics instructional media using the GSP program on surface and volume , graphs , linear equation systems and similarity for Mattayomsuksa 3 students, to compare the achievement of students using modern techniques and usual classes , to develop the knowledge and teaching technique of mathematics teachers and lastly to find out the students and mathematics teachers satisfaction on using modern technique. The samples were Matayomsuksa 3 students who were studying mathematics during the first semester of the year 2008 of the Pinpronrad Tangtrongjid 12 school in Pitsanulok Province and the 23 mathematics teachers of the basic expansion schools of all Pitsanulok educational service areas . The instruments used in this study were the media using the GSP program , exam papers, exercises as well as questionnaires on the preferences of the modern technique . Data were collected and analyzed by means of statistical method.
The findings showed that the media had the efficiency of 76.06 :71.06 which was higher than the standard efficiency of 70:70 . The sampling group of students had gained more knowledge than that of the control one with the 0.01 level of statistically significant difference .The sampling of mathematics teachers had gained higher knowledge after being trained the modern technique course with the 0.01 level of statistically significant difference. The fulfillmemt averages of the students and mathematics teachers on the modern technique were 4.46 and 4.45 respectively. The results above indicated that the modern technique could stimulate the participants learning . The problem solving can be done well if the technique has been extended to the whole course and there are more such medias on other subjects of mathematics including following up of using the modern technique at schools .
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).