การวิเคราะห์และการพัฒนาปุ๋ยหมักจากต้นถั่วเขียว ด้วยการตรวจวัดแร่ธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมัก
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์และการพัฒนาปุ๋ยหมักจากต้นถั่ว ด้วยการตรวจวัดแร่ธาตุอาหารหลักของ ปุ๋ยหมัก โดยเก็บตัวอย่างจากหมู่บ้านเนินพลวง จังหวัดพิจิตร จำนวน 2 สูตรปุ๋ยหมัก ประกอบด้วย สูตรที่ 1 มูลโค กับซังข้าวโพด (1:3) และสูตรที่ 2 มูลโคกับกากถั่วเขียว (1:3) เริ่มต้นด้วยวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) และหาปริมาณความชื้น พบว่าปุ๋ยหมักทั้งสองชนิด มีความเป็นกรดอ่อน และพบว่าปุ๋ยหมักสูตรที่ 1 มีความชื้น น้อยกว่าปุ๋ยหมักสูตรที่ 2 การวิเคราะห์หา NPK พบว่าปริมาณ N ในตัวอย่างปุ๋ยหมักสูตรที่ 1 ได้มาตรฐาน ส่วน สูตรที่ 2 ไม่ได้มาตรฐาน ปริมาณ P ได้มาตรฐานทั้ง 2 สูตร และปริมาณ K ไม่ได้มาตรฐานทั้ง 2 สูตร การวิเคราะห์ ระยะเวลาในการเก็บรักษาปุ๋ยหมักพบว่าระยะเวลาภายใน 2 เดือนไม่มีผลต่อปริมาณแร่ธาตุอาหารหลักในปุ๋ยหมัก ผลการศึกษาและปรับปรุงอัตราส่วนการผสมปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพมากขึ้น พบว่าสูตรปุ๋ยหมักที่ให้แร่ธาตุอาหาร หลักเกินมาตรฐานคือ มูลโค+กระถิน+ถั่วเขียว มูลโค+กระถิน มูลโค+ถั่วเขียว+ฟางข้าว+ผักตบชวา และมูลโค+ ผักตบชวา
Abstract
This research was analysis and development of compost from mung beans by determination of main mineral fertilizer elements. The two samples was collected at Nunplong Village in Phijit Province that consisted of cattle manure : corncob (1:3) for the first type sample and cattle manure : beans (1:3) for the second type sample. The pH, moisture and NPK of both samples were analyzed. The results showed that both samples were slightly acidic and the moisture of the first sample has been less than that of second sample. NPK analysis found that only N of the first sample was in the standard level, P of the both samples showed lower than the standard compost, and K of the both samples showed higher than the standard compost. The effect of storage time to the main mineral elements was investigated for two months and found no effect to main mineral fertilizer elements. All of the results were applied to a new compost to upgrade to the higher quantity than the standard fertilizer. The good compost were obtained when using cattle manure + white popinac + mung beans, cattle manure + white popinac, cattle manure + mung beans + rice straw + water hyacinth, and cattle manure + water hyacinth.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).