ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • กิจจา โตไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
  • ชัยนันท์ ใจวังเย็น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

Keywords:

การจัดการศึกษา, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผลตอบแทนต่อขนาดการผลิต

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด เชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสารวจโดยใช้แบบสอบถามที่จัดส่งไปตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปิด สอนในระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา 2554 ที่สังกัดสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 สังกัด ตารวจตระเวนชายแดนและสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ จานวน 167 โรงเรียน และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Log Linear Model และ Data Envelopment Analysis (DEA) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ในปีการศึกษา 2554 คือ จานวนนักเรียน จานวนนักเรียนต่อจานวนครู งบประมาณทั้งหมดต่อจานวนนักศึกษา และจานวนนักศึกษาต่อห้องเรียน ส่วนระดับ ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่จากการประมาณสมการพรมแดนการผลิตโดยวิธีการ หาเส้นห่อหุ้ม พบว่า ในภาพรวมประสิทธิภาพอันเนื่องจากขนาดการผลิตอยู่ในระดับที่สูงมีเฉลี่ยค่าเท่ากับ 0.86 นอกจากนี้พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วง Increasing return to scale (IRS) คิดเป็นร้อยละ 85.63 แสดง ว่า เมื่อเพิ่มปัจจัยการผลิตเข้าไปร้อยละ 1 ผลผลิตที่ได้มากกว่าร้อยละ 1 หมายถึงใช้ปัจจัยการผลิตน้อยเกินไป ยัง ไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควรและเมื่อจาแนกระดับประสิทธิภาพตามสังกัด พบว่า โรงเรียนสังกัด สพม.34 มีระดับ ประสิทธิภาพภายใต้ผลตอบแทนขนาดคงที่ (CRS) เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 0.947 และค่าต่าสุดคือ โรงเรียนสังกัดสพฐ. เขต 4 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.599 ซึ่งสอดคล้องกับระดับประสิทธิภาพภายใต้ผลตอบแทนขนาดไม่คงที่ (VRS) และ ระดับความมีประสิทธิภาพอันเนื่องจากขนาดการผลิต (SE) และมีข้อสังเกตเพิ่มเติมพบว่ามีเพียงโรงเรียนสังกัด สพฐ.เขต 2 สพฐ.เขต 4 และสพฐ.เขต 6 ที่มีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยต่าสุดที่ต่ากว่า 0.500 คือเท่ากับ 0.319 0.443 และ 0.334 ตามลาดับ แสดงว่าทั้ง 3 สังกัดควรมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนทางด้านการจัดการศึกษา เมื่อจาแนก ตามแหล่งที่ตั้ง พบว่าโรงเรียนที่อยู่ในเขตเทศบาลมีประสิทธิภาพสูงกว่าโรงเรียนที่อยู่นอกเขตเทศบาลทั้งภายใต้ ผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ (CRS) ผลตอบแทนต่อขนาดไม่คงที่ (VRS) และการเกิดความมีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจาก การผลิต (SE) ดังนั้น สถานศึกษาที่อยู่ในเขตท้องถิ่นทุรกันดารที่มีภูเขาสูง การเดินทางยากลาบาก ระบบการสื่อสาร ระบบ สาธารณูปโภค ระบบการคมนาคมยังไม่ดีเท่าใดนัก และยังขาดแคลนอุปกรณ์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงควรให้ ความสาคัญในการเข้ามาช่วยเหลือ ติดตาม และสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง

คำสาคัญ : การจัดการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลตอบแทนต่อขนาดการผลิต

Downloads

How to Cite

โตไพบูลย์ ก., & ใจวังเย็น ช. (2014). ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่. Life Sciences and Environment Journal, 14(1), 53–63. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17000

Issue

Section

บทความวิจัย(มนุษย์ฯ)