ผลของสารสกัดหยาบจากใบรางแดง (Ventilago denticulata Willd.) ต่อการเจริญของ Colletotrichum gloeosporioides และ Fusarium oxysporum

Authors

  • รัฐพล ศรประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพฯ
  • ภากร นอแสงศรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพฯ
  • อนงคณ์ หัมพานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพฯ

Keywords:

สารสกัดหยาบ, รางแดง, โครมาโทกราฟีผิวบาง, crude extract, Ventilago denticulata, thin layer chromagography

Abstract

บทคัดย่อ

การสกัดสารสกัดหยาบจากใบรางแดง (Ventilago denticulata Willd.) ด้วยเอธานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 พบว่า สารสกัด มีลักษณะข้นหนืดมีสีเขียวเข้มถึงดํา กลิ่นหอม การศึกษาผลของสารสกัดที่ความเข้มข้น 0 5000 10000 15000 และ 20000 ppm ต่อการเจริญของรา Colletotrichum gloeosporioides และ Fusarium oxysporum พบว่า สารสกัดที่ความเข้มข้น 15000 และ 20000 ppm ยับยั้งการเจริญของ C. gloeosporioides และ F. oxysporum ได้ดีที่สุด ด้วยร้อยละการยับยั้ง 32.13 40.38 และ 32.38 40.75 ตามลําดับ โดยค่าความเข้มข้นตำ่สุด (MIC) ของสารสกัดที่ยับยั้ง C. gloeosporioides และ F. oxysporum เท่ากับ 0.125 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร การแยกองค์ประกอบของสารสกัดหยาบ ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีผิวบาง (TLC) โดยใช้ toluene : ethyl acetate เป็น mobile phase อัตราส่วน 8 : 2 โดยปริมาตร พบว่า แยกสารได้ 9 แถบ มีค่า Rf 0.074 0.111 0.203 0.277 0.407 0.518 0.630 0.741 และ 0.800 ตามลําดับ เมื่อใช้ toluene: ethyl acetate อัตราส่วน 2 : 8 โดยปริมาตร แยกสารได้ 3 แถบ มีค่า Rf 0.149 0.660 และ 0.940 ตามลําดับ

คําสําคัญ : สารสกัดหยาบ, รางแดง, โครมาโทกราฟีผิวบาง

 

Abstract

Extraction of Rang Daeng (Ventilago denticulata Willd.) leaves with 95% ethanol yielded a crude extract which was characterized by a concentrated-sticky, dark green to black color and pleasant aroma. Effective different concentrations of the crude extract at 0, 5000, 10000, 15000 and 20000 ppm were against Colletotrichum gloeosporioides and Fusarium oxysporum were investigated for inhibitors. The results indicated that the crude extract at concentrations of 15000 and 20000 ppm were the best inhibitors against C. gloeosporioides and F. oxysporum with 32.38, 40.38 and 32.38, 40.75 % respectively. Minimum inhibitory activity of the crude extract displayed strong antifungal activity against C. gloeosporioides and F. oxysporum with a minimum inhibitory concentration (MIC) value of 0.125 mg/ml. The chromatographic separation of the crude extract was investigated on silica gel TLC plates as a stationary phase and toluene-ethyl acetate (8 : 2 by volume/volume and 2:8 by volume/volume) as mobile phase. Toluene: ethyl acetate (8 : 2 by volume/volume), separated the crude extract into nine bands and yielded the Retention coefficient Rf of 0.074, 0.111, 0.203, 0.277, 0.407, 0.518, 0.630, 0.741 and 0. 800, respectively. Toluene: ethyl acetate (2 : 8 by volume/volume), separated the crude extract in to three bands and Rf of 0.149, 0.660 and 0.940 respectively.

Keywords : crude extract, Ventilago denticulata, thin layer chromagography

Downloads

How to Cite

ศรประเสริฐ ร., นอแสงศรี ภ., & หัมพานนท์ อ. (2014). ผลของสารสกัดหยาบจากใบรางแดง (Ventilago denticulata Willd.) ต่อการเจริญของ Colletotrichum gloeosporioides และ Fusarium oxysporum. Life Sciences and Environment Journal, 13(1), 42–47. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/16992

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)