การพัฒนาอิฐทนไฟฉนวนจากเถ้าแกลบ

Authors

  • สนิท ปิ่นสกุล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก

Keywords:

อิฐทนไฟฉนวน, เถ้าแกลบ, เซรามิกส์, insulating firebricks, rice husk ash, ceramics

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินปั้นอิฐทนไฟฉนวนทั้งก่อนเผาและหลังเผาอุณหภูมิ 1,300 องศาเซลเซียส บรรยากาศการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ และเพื่อทดลองผลิตอิฐทนไฟฉนวน โดยการขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิก สูตรส่วนผสมได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากตารางสามแหลี่ยม จํานวน 36 ตัวอย่าง วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมหลัก คือ เถ้าแกลบ อะลูมิเนียมออกไซด์ ดินดําสุราษฏร์ เติมเบนโทไนต์ ร้อยละ 10 เพื่อเพิ่มความเหนียว และขี้เลื่อยร้อยละ 20 เพื่อเพิ่มความพรุนตัว ผลการวิจัยพบว่าเนื้อดินปั้นที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ เหมาะสมในการผลิตอิฐทนไฟฉนวนได้แก่เนื้อดินปั้นสูตรที่ 10 ในสูตรส่วนผสม มีเถ้าแกลบ ร้อยละ 65 อะลูมิเนียมออกไซด์ ร้อยละ 22 ดินดําสุราษฏร์ ร้อยละ 13 เบนโทไนต์ร้อยละ 10 และขี้เลื่อย ร้อยละ 20 เนื้อดินปั้นขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิกได้มีความหดตัวก่อนเผาเฉลี่ยร้อยละ -2.25 ± 0.06 ความหดตัวหลังเผาเฉลี่ยร้อยละ 6.63 ± 0.16 ความแข็งแรงก่อนเผาเฉลี่ย 0.22 ± 0.04 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ความแข็งแรงหลังเผาเฉลี่ย 3.45 ± 0.23 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ความหนาแน่นรวมเฉลี่ย 0.87 ± 0.07 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เนื้อดินปั้นมีสีเทาอ่อน และทนความร้อนที่อุณหภูมิ 1,300 องศาเซลเซียส บรรยากาศการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ได้ ผลจากการทดลองนําเนื้อดินปั้นสูตรที่ 10 ไปขึ้นรูปผลิตภัณฑ์อิฐทนไฟฉนวนด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิก โดยใช้แบบพิมพ์โลหะ พบว่าสูตรส่วนผสมเนื้อดินปั้นอิฐทนไฟฉนวนขึ้นรูปได้ดี หลังผ่านการเผานําไปใช้งานได้

คําสําคัญ : อิฐทนไฟฉนวน, เถ้าแกลบ, เซรามิกส์

 

Abstract

The purposes of this research were to study the physical properties of insulated firebrick body prior and post burning at 1300 C at oxidation atmosphere, and to experimental by producing insulated firebricks using hydraulic press. The ingredients were randomly chosen from a truncated prism with 36 samples. The main ingredients were rice ash, Aluminum Oxide, Surat Ball Clay, 10% of Bentonite for developing stickiness, and 20% of fly ash to generate porosity. The results of the study showed that amount of clay body that is appropriate for making insulatel firebricks is a clay body formula 10 which consisted of 65% of rice husk ash, 22% of Aluminum Oxide, 13% of Surat Ball Clay, 10% of Bentonite, and 20% of fly ash. The clay body was formed by a hydraulic press, The shrinkage prior burning was -2.25 ± 0.06%, and post burning was 6.63 ± 0.16%. The Strength of the body before burning was 0.22 ± 0.04 kg/cm2, and after burning was 3.45 ± 0.23 kg/cm2. The mean bulk density of the body was 0.87 ± 0.07 g/cm3 on average. The color of the body was light grey and the heat tolerance was at 1300 C under oxidation atmosphere. As a result, the body clay formula 10 is the most appropriate for forming insulating firebricks by hydraulic press.

Keywords : insulating firebricks, rice husk ash, ceramics

Downloads

How to Cite

ปิ่นสกุล ส. (2014). การพัฒนาอิฐทนไฟฉนวนจากเถ้าแกลบ. Life Sciences and Environment Journal, 13(1), 55–61. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/16990

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)