ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มปริมาณต้นอ่อนเอื้องผึ้งในสภาพปลอดเชื้อ

Authors

  • รัตนาภรณ์ จองไพจิตรสกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำแพงเพชร

Keywords:

เอื้องผึ้ง, ไซโตไคนิน, การเพิ่มปริมาณต้น, Dendrobium lindleyi Steudel, cytokinin, shoot multiplication

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของไซโตไคนินต่อการชักนำชิ้นส่วนต้นอ่อนให้เกิดเป็นยอดใหม่จำนวนมาก โดยนำต้นอ่อนเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งดัดแปลงสูตร Vacin และ Went (VW) ที่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนินชนิดต่าง ๆ ได้แก่ 6-Benzylaminopurine (BA) Kinetin และ Thidiazuron (TDZ) ความเข้มข้น 0 0.1 0.5 1.0 2.0 และ 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อเลี้ยงครบระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า การเพิ่มระดับความเข้มข้นของไซโตไคนินทั้งสามชนิดนั้น มีแนวโน้มให้เกิดต้นใหม่และชักนำให้เกิดโปรโตคอร์มมากขึ้นแต่ส่งผลยับยั้งการการเจริญของราก การยืดยาวออกของรากและยอดใหม่ให้ลดลงอีกด้วย โดยชิ้นส่วนต้นอ่อนที่เลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็ง VW ที่เติม Kinetin 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดจำนวนยอดมากที่สุดถึง 11.1 ยอดต่อชิ้นส่วนเริ่มต้นและอาหารกึ่งแข็ง VW ที่เติม TDZ 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากมากที่สุด 6.9 ราก

คำสำคัญ : เอื้องผึ้ง ไซโตไคนิน การเพิ่มปริมาณต้น

 

Abstract

Effects of plant growth regulator, cytokinin, on shoot multiplication of Dendrobium lindleyi Steudel were studied. In vitro shoots were cultured on modified Vacin and Went medium supplemented with BA, Kinetin and TDZ at 0, 0.1, 0.5, 1.0, 2.0 and 4.0 mg.l-1 for 12 weeks. The results showed that the highest number of shoots (11.1 shoots) was obtained when cultured on modified VW (1949) with 2.0 mg.l-1 kinetin whereas the highest number of roots (6.9 roots) was observed on medium with 0.1 mg.l-1 Thidiazuron (TDZ).

Keywords : Dendrobium lindleyi Steudel, cytokinin, shoot multiplication

Downloads

How to Cite

จองไพจิตรสกุล ร. (2014). ผลของไซโตไคนินต่อการเพิ่มปริมาณต้นอ่อนเอื้องผึ้งในสภาพปลอดเชื้อ. Life Sciences and Environment Journal, 14(1), 25–31. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/16987

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)