ผลของปริมาณกลีเซอรอลต่อสมบัติทางกายภาพและทางกล ของฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้งมันเทศเพื่อยืดอายุกล้วยน้ำว้า

-

ผู้แต่ง

  • Pawinee Theamdee Faculty of Science and Technology, Thepsatri Rajabhat University
  • Thanyalak Auasalung

คำสำคัญ:

แป้งมันเทศ, ฟิล์มย่อยสลายได้, กลีเซอรอล, ฟิล์มเคลือบ, การเก็บรักษาผลไม้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการใช้กลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ต่อสมบัติทางกายภาพ และทางกลของฟิล์มย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจากแป้งมันเทศ ซึ่งฟิล์มนี้ใช้เคลือบผิวผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา การเตรียมฟิล์มทำโดยละลายแป้งมันเทศในน้ำให้มีความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และเติม
กลีเซอรอล 3 ระดับ คือ ร้อยละ 0, 30 และ 60 โดยน้ำหนัก แผ่นฟิล์มถูกขึ้นรูปในแม่พิมพ์และทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 18 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าความหนาของฟิล์มมีค่ามากขึ้นเมื่อปริมาณกลีเซอรอลเพิ่มขึ้น และมีค่าอยู่ในช่วง 0.34-0.39 มิลลิเมตร ฟิล์มจากแป้งมันเทศมีค่าอัตราการซึมผ่านไอน้ำเท่ากับ 0.009-0.026 กรัมต่อตารางเมตรต่อกิโลปาสคาลต่อชั่วโมง อัตราการซึมผ่านไอน้ำสูงขึ้นเมื่อปริมาณกลีเซอลรอลเพิ่มขึ้น ค่าการต้านแรงดึงของฟิล์มลดลงอย่างมากเมื่อปริมาณกลีเซอรอลในแผ่นฟิล์มสูงขึ้น เมื่อฝังฟิล์มในดินลึกประมาณ 8-10 เซนติเมตร เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ พบว่าฟิล์มย่อยสลายได้ร้อยละ 16-55 โดยการย่อยสลายนี้เกิดเร็วขึ้นตามปริมาณกลีเซอรอลที่เพิ่มขึ้น ผลการทดสอบความสามารถในการยืดอายุผลกล้วยน้ำว้า พบว่าการเคลือบผิวกล้วยด้วยฟิล์มจากแป้งมันเทศที่มีกลีเซอรอลร้อยละ 30 สามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยได้นานสูงสุด 3 วัน ที่อุณหภูมิห้อง จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าฟิล์มจากแป้งมันเทศอาจใช้เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ได้  และยังเป็นฟิล์มที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณขยะได้อีกทางหนึ่ง

Author Biography

Thanyalak Auasalung

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการใช้กลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ต่อสมบัติทางกายภาพ และทางกลของฟิล์มย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจากแป้งมันเทศ ซึ่งฟิล์มนี้ใช้เคลือบผิวผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา การเตรียมฟิล์มทำโดยละลายแป้งมันเทศในน้ำให้มีความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และเติม
กลีเซอรอล 3 ระดับ คือ ร้อยละ 0, 30 และ 60 โดยน้ำหนัก แผ่นฟิล์มถูกขึ้นรูปในแม่พิมพ์และทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 18 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าความหนาของฟิล์มมีค่ามากขึ้นเมื่อปริมาณกลีเซอรอลเพิ่มขึ้น และมีค่าอยู่ในช่วง 0.34-0.39 มิลลิเมตร ฟิล์มจากแป้งมันเทศมีค่าอัตราการซึมผ่านไอน้ำเท่ากับ 0.009-0.026 กรัมต่อตารางเมตรต่อกิโลปาสคาลต่อชั่วโมง อัตราการซึมผ่านไอน้ำสูงขึ้นเมื่อปริมาณกลีเซอลรอลเพิ่มขึ้น ค่าการต้านแรงดึงของฟิล์มลดลงอย่างมากเมื่อปริมาณกลีเซอรอลในแผ่นฟิล์มสูงขึ้น เมื่อฝังฟิล์มในดินลึกประมาณ 8-10 เซนติเมตร เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ พบว่าฟิล์มย่อยสลายได้ร้อยละ 16-55 โดยการย่อยสลายนี้เกิดเร็วขึ้นตามปริมาณกลีเซอรอลที่เพิ่มขึ้น ผลการทดสอบความสามารถในการยืดอายุผลกล้วยน้ำว้า พบว่าการเคลือบผิวกล้วยด้วยฟิล์มจากแป้งมันเทศที่มีกลีเซอรอลร้อยละ 30 สามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยได้นานสูงสุด 3 วัน ที่อุณหภูมิห้อง จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าฟิล์มจากแป้งมันเทศอาจใช้เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ได้  และยังเป็นฟิล์มที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณขยะได้อีกทางหนึ่ง

References

Alves VD, Mali S, Bele´ia A. et al. Effect of glycerol and amylose enrichment on cassava starch film properties, Journal of Food Engineering. 2007; 78: 941-946.

Chillo S, Flores S. Mastromatteo M. et al. Influence of glycerol and chitosan on tapioca starch-based
edible film properties, Journal of Food Engineering. 2008; 88: 159-168.

Choi WS, Jung HH. Physical and mechanical properties of pea-protein-base edible film, Journal Food
Science. 2001; 66(2): 319-322.

Ekthamasut K, Akesowan A. Effect of vegetable oils on physical characteristics of edible konjac films, AU Journal of Technology. 2001; 5: 73-78.

Gontard N, Guillbert S, Cuq JL. Water and glycerol as plasticizers affect mechanical and water vapour barrier properties of an edible film, The Journal of Food Science. 1993; 55(1): 206-211.

Hernandez DP, Jaramillo CM, Cordoba AL. et al. Edible cassava starch films carrying rosemary antioxidant extracts for potential use as active food packaging, Food Hydrocolloids. 2017; 63: 488-495.

Jiang F, Xiao M, Wan Li a. et al. Characterization of konjac glucomannan-ethyl cellulose film formation via microscopyInternational, Journal of Biological Macromolecules. 2016; 85: 434-441.

Jiménez A, Fabra MJ, Talens P. et al. Edible and biodegradable starch films: A review, Food and Bioprocess Technology. 2012; 5: 2058-2076.

Jomlapeeratkiul P, Poomsa-ad N, Wiset L. The Effects of drying temperatures and oil contents on properties of biodegradable film from konjac flour, Journal of the Thai Society of Agricultural Engineering. 2014; 20(2): 1-7.

Li M, Lee TC. Effect of cysteine on the functional properties and microstructure of wheat flour extrudates, Journal of Agricultural and Food Chemistry. 1996; 44: 1871-1880.

Liu X, Shiomi S, Nakatsuka A. et al. Characterization of ethylene biosynthesis associated with ripening in banana fruit, Plant Physiology. 1999; 121: 1257-1265.

Maftoonazad N, Ramaswamy HS, Moalemiyan M. et al. Effect of pectin-based edible emulsion coating on changes in quality of avocado exposed to Lasiodiplodia theobromae infection, Carbohydrate Polymers. 2007; 68: 341-349.

Mali S, Grossmann MVE, Garcia MA. et al. Effects of controlled storage on thermal, mechanical and barrier properties of plasticized films from different starch sources, Journal of Food Engineering.
2006; 75: 453-460.

Mali S, Sakanaka LS, Yamashita F. et al. Water sorption and mechanical properties of cassava starch films and their relation to plasticizing effect, Carbohydrate Polymers. 2005; 60: 283-289.

Mathlouthi, M. Water content, water activity, water structure and the stability of foodstuffs. Food Control. 2001; 12: 409-417.

Noiduang P, Thawla L, Pa-ai O. Study on edible film production from Chinese water chestnuts starch, Agricultural Science Journal. 2015; 46(3): 665-668.

Rachtanapun P, Pankan D, Srisawat D. Edible films of blended cassava starch and rice flour with sorbital and their mechanical properties, Journal of Agricultural Science and Technology. 2012; 2(2): 252-258.

Riku AT, Harry H, Yrjo HR. et al. Effect of various polyols and polyol contents on physical and mechanical properties of potato starch-based films, Carbohydrate Polymers. 2007; 67: 288-295.

Soltani M, Alimardani R, Omid M. Prediction of banana quality during ripening stage using capacitance sensing system, Australian Journail of Crop Science. 2010; 4(6): 443-447.

Sperber WH. Influence of water activity on foodborne bacteria - a review, Journal of Food Protection. 1983; 46(2): 142-150.

Thumthanaruk B, Pengpoondech P, Rodsuwan U. Quality of tapioca starch film mixed with jellyfish protein hydrolysate, Agricultural Science Journal. 2012; 43(2): 437-440.

Tsou CH, Suen MC, Yao WH. et al. Preparation and characterization of bioplastic-based green renewable composites from tapioca with acetyl tributyl citrate as a plasticizer, Materials. 2014; 7: 5617-5632.

Vieira MGA, Silva MA, Santos LO. et al. Natural-based plasticizers and biopolymer films: a review, European Polymer Journal. 2011; 47: 254-263.

Veiga SP. Sucrose and Inverted Sugar as Plasticizer. Effect on cassava starch-gelatin film mechanical properties hydrophilicity and water activity, Food Chemistry. 2007; 103: 255-262.

Wang K, Wang W, Ye R. et al. Mechanical properties and solubility in water of corn starch-collagen composite films: Effect of starch type and concentrations, Food Chemistry. 2017; 216: 209-216.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-26

How to Cite

Theamdee, P., & Auasalung, T. (2019). ผลของปริมาณกลีเซอรอลต่อสมบัติทางกายภาพและทางกล ของฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้งมันเทศเพื่อยืดอายุกล้วยน้ำว้า: -. Life Sciences and Environment Journal, 20(1), 70–80. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/129613