การศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในการแล่นประสานแบบมิกต่อโครงสร้างจุลภาค และคุณสมบัติทางกลในการเชื่อมประสานอลูมิเนียมเข้ากับเหล็กชนิด แข็งแรงพิเศษเพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในการแล่นประสานแบบมิกต่อโครงสร้างจุลภาคและคุณสมบัติทางกลในการเชื่อมประสานอลูมิเนียมเข้ากับเหล็กชนิดแข็งแรงพิเศษ โดยตัวแปรการแล่นประสานที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ความเร็วในการแล่นประสาน กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการแล่นประสาน อัตราการป้อนโลหะเติม ระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับหัวทอร์ชและมุมที่ใช้ในการแล่นประสาน เงื่อนไขการแล่นประสานที่เหมาะสมเมื่อตรวจสอบโดยใช้วิธีทากูชิพบว่า ความเร็วในการแล่นประสานที่ 500 mm/min กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการแล่นประสานที่ 25 A อัตราการป้อนโลหะเติมที่ 6.0 m/min ระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับหัวทอร์ชที่ 1 mm และมุมที่ใช้ในการแล่นประสานที่ 90 ๐ มีความต้านทานแรงเฉือนสูงสุดที่ 68.40 MPa มีค่าความผิดพลาดจากการทำนายของการทดลองน้อยกว่า 3 % โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ระหว่างพื้นผิวเมื่อยืนยันผลจากการวิเคราะห์ด้วย SEM, EDS และ XRD ระหว่างการแล่นประสานเกรนสารประกอบเกิดที่โลหะผสมโลหะเติม ขณะที่ชั้นสารประกอบเชิงโลหะ FeAl3Si2 เกิดขึ้นที่ระหว่างพื้นผิวของเหล็กชนิดแข็งแรงพิเศษและโลหะเติม
Article Details
How to Cite
mookam, niwat. (2015). การศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในการแล่นประสานแบบมิกต่อโครงสร้างจุลภาค และคุณสมบัติทางกลในการเชื่อมประสานอลูมิเนียมเข้ากับเหล็กชนิด แข็งแรงพิเศษเพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์. Naresuan University Engineering Journal, 10(1), 31–39. https://doi.org/10.14456/nuej.2015.3
Section
Research Paper