การวิเคราะห์อิทธิพลของความลึกฟันเกลียวและระยะพิทช์ในสกรูอิมแพลนท์ขนาดเล็ก ต่อการกระจายความเค้นในกระดูกโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

Main Article Content

นพรัตน์ สีหะวงษ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของขนาดความลึกของฟันเกลียว และระยะพิทช์ของสกรูอิมแพลนท์ขนาดเล็ก ที่มีต่อการกระจายความเค้นที่เกิดขึ้นใน สกรูอิมแพลนท์ขนาดเล็กและกระดูกโดยรอบ โดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในการวิเคราะห์  สำหรับในการศึกษานี้สกรูอิมแพลนท์ขนาดเล็กที่ ได้ทำการศึกษาเป็นแบบชนิดหัวกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6 มิลลิเมตร ความยาวเกลียว 12 มิลลิเมตร ขนาดความลึกของฟันเกลียวและระยะพิทช์แตกต่างกัน 20 ขนาด คือ ขนาดความลึกของฟันเกลียว 0.1, 0.15, 0.2, 0.25 และ 0.3 มิลลิเมตร ในแต่ละขนาดความลึกของฟันเกลียวจะมีระยะพิทช์ 0.7, 0.75, 0.8 และ 0.85 มิลลิเมตร ตามลำดับ ภาระที่ใช้ทำการวิเคราะห์ในแบบจำลองทางไฟไนต์เอลิเมนต์นี้จะเป็นแรงที่ใช้ในการจัดฟันจริงมีขนาด 0.4905 นิวตัน (50 กรัม) จากผลการศึกษาพบว่า ค่าความเค้น Von Misses สูงสุดที่เกิดขึ้นในสกรูอิมแพลนท์ขนาดเล็กเกิดขึ้นที่บริเวณเกลียวแรกของสกรู และค่าความเค้นสูงสุดดังกล่าวมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดความลึกฟันเกลียวมีค่าเพิ่มขึ้น และมีค่าต่ำสุดที่ระยะพิทช์เท่ากับ 0.75 มิลลิเมตร ส่วนค่าความเค้นหลักสูงสุดที่เกิดขึ้นในชั้นของกระดูกทึบ พบว่าเกิดขึ้นบริเวณเกลียวแรกของสกรูเช่นเดียวกับค่าความเค้น Von Mises สูงสุดที่เกิดขึ้นบนสกรูอิมแพลนท์ขนาดเล็ก โดยมีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อความลึกฟันเกลียวมีค่าเพิ่มขึ้น และมีค่าสูงสุดที่ระยะพิทช์เท่ากับ 0.75 มิลลิเมตร

Article Details

How to Cite
สีหะวงษ์ น. (2014). การวิเคราะห์อิทธิพลของความลึกฟันเกลียวและระยะพิทช์ในสกรูอิมแพลนท์ขนาดเล็ก ต่อการกระจายความเค้นในกระดูกโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์. Naresuan University Engineering Journal, 4(1), 7–12. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/26292
Section
Research Paper