กระบวนการสนับสนุนการตัดสินใจในการประเมินศักยภาพและเลือกแนวทางการใช้ประโยชน์จากกากของเสียอุตสาหกรรม กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการสนับสนุนการตัดสินใจในการประเมินศักยภาพและเลือกแนวทางการใช้ประโยชน์กากของเสียอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังคงต้องนำไปทำการจัดการด้วยการฝั่งกลบและเผาในเตาปูนซีเมนต์ โดยกระบวนการสนับสนุนการตัดสินใจที่ได้พัฒนาขึ้นนี้จะเริ่มจากการศึกษาปริมาณของเสียที่มีการฝังกลบในเขตพื้นที่กรณีศึกษา หลังจากนั้นจึงทำการประเมินศักยภาพและเลือกแนวทางการนำกลับมาใช้ประโยชน์จากความเป็นไปได้เชิงเทคโนโลยีในการรีไซเคิล ความพร้อมทางด้านเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ที่สามารถช่วยสนับสนุนตัดสินใจแบบกลุ่มและลดความลำเอียงในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลที่ได้จากทดสอบการตัดสินใจของกรณีศึกษา โรงงานผลิตวงจรรวมและตัวเก็บประจุ พบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับเกณฑ์ด้านเทคโนโลยีมากที่สุดเท่ากับ 39.9% รองลงมาเป็นด้านเศรษฐศาสตร์ 20.8% ด้านสิ่งแวดล้อม 20.6% และด้านกฎระเบียบ 18.7% ตามลำดับ โดยความสำคัญของทางเลือก ในกรณีศึกษาที่ 1 พบว่าเลือกแนวทางการใช้ประโยชน์จากกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักมีความสำคัญมากที่สุดเท่ากับ 54.1% รองลงมาเป็นกระถางต้นไม้ 27.3% และแผ่นพื้นโต๊ะ 18.6% ตามลำดับ ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 พบว่าความสำคัญของทางเลือก แผ่นป้ายมีความสำคัญมากที่สุดเท่ากับ 37.0% รองลงมาเป็นกรอบกระจก 32.4% และของที่ระลึก 30.5% ตามลำดับ
คำสำคัญ: กระบวนการสนับสนุนการตัดสินใจ การรีไซเคิลกากของเสียอุตสาหกรรม กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
The purposes of this research were to provide support methods for selecting and assessing the potentiality utilization of industrial waste of electronic components to be disposed of by landfill and burning in a cement kiln. The process began by estimating the amount of waste that was in the landfill in the study areas. After that, the potential to exploit the technological feasibility of recycling, economic feasibility, availability, environmental impacts, and regulations were assessed qualitatively and quantitatively, using the analytic hierarchy process (AHP) to help with group decision-making and to reduce bias in decision-making effectively. The results of the IC (Integrated Circuit) and capacitor electronic component manufacturing industry case studies revealed that the experts focused on technology the most at 39.9%, followed by economics at 20.8%, the environment at 20.6%, and regulations at 18.7% respectively. Case Study 1 revealed that the most frequently-selected alternative for waste utilization was hollow non-load-bearing concrete blocks at 54.1%, followed by flower pots at 27.3%, and table plates at 18.6%. Case Study 2 revealed that label plates were the most important at 37.0%, followed by glass frames at 32.4% and souvenirs at 30.5%.
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น