การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการถ่ายทอดความรู้ 2) สร้างรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว และ 3) พัฒนาคู่มือการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าวโดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาด้วยวิธีผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 173 คน ซึ่งเป็นผู้จัดการ หัวหน้างานและพนักงานของโรงสีข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี และศรีสะเกษ โดยเลือกแบบเจาะจงจาก 73 โรงสีข้าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในลักษณะแบบสอบถามปลายเปิดกึ่งโครงสร้างและการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาองค์ประกอบและการพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว ประกอบด้วย 1) องค์ความรู้ 2) ผู้ให้ความรู้ 3) ผู้รับความรู้ 4) การสนับสนุนจากองค์กร แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบย่อย คือ 4.1) สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ และ 4.2) การจูงใจการจัดทำคู่มือการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว ประกอบด้วย ส่วนการแนะนำการใช้คู่มือและการถ่ายทอดความรู้ 11 ขั้นของการสีข้าว รูปแบบและคู่มือการถ่ายทอดความรู้ได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเอกฉันท์ในด้านความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการถ่ายทอดความรู้ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว
คำสำคัญ: องค์ความรู้ การถ่ายทอดความรู้ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ อุตสาหกรรมโรงสีข้าว
Abstract
The objectives of this research were: 1) to explore the components of knowledge transfer in the rice mill industry, 2) to develop a knowledge transfer model in the rice mill industry, and 3) to develop manual for knowledge transfer model in the rice mill industry. Its approach was research and development with the mixed methods of qualitative and quantitative research. The participants were 173 persons who were managers, supervisors and employees of 73 purposively selected rice mill industries, located in 5 provinces in Northeastern part of Thailand including Roi-ed, Surin, Yasotorn, Ubonratchathani, and Sisaket. The qualitative research instruments were semi-structured open-ended questionnaires for in-depth interview and focus group discussion, using content analysis for data analysis. The quantitative research instrument was open questionnaires analyzed by descriptive statistics, i.e. frequency, percentage, mean, and standard deviation. The research results revealed that the components and transfer model in rice mill industry comprised of 1) the knowledge 2) knowledge transferor 3) knowledge transferee 4) the organizational support which comprised 2 sub components: 4.1) the enhanced learning environment and 4.2) motivation. The manual for knowledge transfer was divided into 2 parts: the usage of the manual part and the knowledge transfer of 11 steps rice mill process. The model and manual were verified for the appropriateness of knowledge transfer in the rice mill industry with approved consensus.
Keywords: Knowledge, Knowledge Transfer, Knowledge Transfer Model, Rice Mill Industry
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น