การพัฒนาโมเดลการบริหารความเหนื่อยล้าของพนักงานขับรถขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมผลิตก๊าซอุตสาหกรรม

Main Article Content

วิไลรัตน์ เจริญใหม่รุ่งเรือง
สมศรี ศิริไหวประพันธ์
รณินทร์ กิจกล้า

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการบริหารความเหนื่อยล้าของพนักงานขับรถขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมผลิตก๊าซอุตสาหกรรม และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก และเชิงคุณภาพเป็นรอง ซึ่งโมเดลต้นแบบประกอบด้วยมาตรการระดับองค์กร มาตรการระดับบุคคลและระดับความเหนื่อยล้า ผลการวิจัยพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีโดยมาตรการระดับองค์กรมีอิทธิพลต่อการลดระดับความเหนื่อยล้า = 0.36 และส่งผลให้มาตรการระดับบุคคลมีอิทธิพลโดยตรงต่อการลดระดับความเหนื่อยล้า = 0.68 บทสรุปการวิจัยพบว่าความสำเร็จของการบริหารความเหนื่อยล้า ต้องเกิดจากการร่วมมือจากบุคคล องค์กร และภาครัฐ ซึ่งมาตรการระดับบุคคลที่มีความสำคัญได้แก่การลดความเสี่ยงด้วยตนเองและความพร้อมของสุขภาพมาตรการระดับองค์กรที่มีความสำคัญได้แก่การควบคุมสมดุลภาระงาน การประเมินความเสี่ยง การรับมือความเหนื่อยล้าและการฝึกอบรม ในขณะที่ภาครัฐควรมุ่งเน้นการกำหนดและบังคับใช้กฎหมาย การออกแบบถนนเพื่อป้องกันความเหนื่อยล้าและการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในวงกว้าง

คำสำคัญ: การบริหารความเหนื่อยล้า พนักงานขับรถขนส่ง ก๊าซอุตสาหกรรม

Abstract

The objectives of this research are to determine and develop a fatigue management model with empirical evidence from Thailand’s industrial gas manufacturers. The research was conducted following the mixed methods of quantitative and qualitative research. The model has 3 factors which are organizational activities that influence both driver activities and fatigue risk level. The results proved by this model are consistent with the factual observations with high goodness of fit statistics. The organizational activities could reduce fatigue risk level = 0.36 and lead to the reduction of fatigue risk level = 0.68. The effectiveness of this model based on collaboration of each concern parties such as individual drivers, organization and government. Particularly for, driver’s activities as self prevention and fitness to duty preparedness while the organization’s activities as workload balance, risk assessment, resting policy and training. Additionally, government’s activities as regulatory enforcement, road design and public communication.

Keywords: Fatigue Management, Drivers, Industrial Gas

Article Details

บท
บทความวิจัย