แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กรในภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้สรุปสาระสำคัญเพื่อนำการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรมาประยุกต์ใช้ในระบบการบริหารจัดการภาครัฐโดยใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการของภาครัฐเพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์จากการดำเนินงานที่พึงประสงค์ ตลอดจนมีการสอดประสานที่เชื่อมโยงกันโดยใช้ Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือชี้วัดที่สามารถสร้างดุลยภาพในภาพรวมให้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งมุ่งเน้นการบริหารคุณภาพการดำเนินงานขององค์กรเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า โดยนำการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรมาปรับปรุงด้านกระบวนการในระบบการบริหารการจัดการภาครัฐเพื่อบูรณาการเข้ากับทุกส่วนขององค์กร เช่น มีการแก้ปัญหา สร้างคุณค่าเพิ่ม การควบคุมต้นทุน และการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการได้รับความสะดวก รวดเร็วประหยัดรายจ่ายและมีความพึงพอใจในการให้บริการ
คำสำคัญ: การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ดุลยภาพการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
Abstract
This article presents essences of application of the total quality management (TQM) to governmental managerial systems. The TQM technique could be used to improve the government services and obtain the desired outcomes. Balanced scorecard could be used as an indicator for creating clear overall equilibrium accordingly. This technique concentrates on operation quality management to obtain efficient, effective and concrete outputs. Continuous improvement would be made to respond to customers’ demand and satisfaction. Implementing TQM could improve working procedures in governmental managerial system. This TQM could be integrated to most matters of organizations such as problem solving,value addition, cost control, and organization structural changes all of which would provide clients with convenience, less time spending, cost saving, and more satisfaction with the offered services.
Keywords: Total Quality Management (TQM),Equilibrium, Continuous Improvement
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น