ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีตรรกะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีรูปแบบการคิดต่างกันจากการเรียนการสอนด้วย 4MAT โดยใช้การเรียนรู้เชิงวัตถุบนเว็บ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีตรรกะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีรูปแบบการคิดต่างกันจากการเรียนการสอนด้วย 4MAT โดยใช้การเรียนรู้เชิงวัตถุบนเว็บโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีตรรกะของนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกันเมื่อเรียนด้วยการเรียนการสอนด้วย 4MAT โดยใช้การเรียนรู้เชิงวัตถุบนเว็บ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน ที่มีรูปแบบการคิดอิสระ 30 คน และรูปแบบการคิดพึ่งพา 30 คน โดยจำแนกรูปแบบการคิดด้วยแบบวัดรูปแบบการคิดGEFT ผลการวิจัยพบว่า การเรียนการสอนด้วย 4MATโดยใช้การเรียนรู้เชิงวัตถุบนเว็บที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดเนื้อหาวิชา กำหนดบทบาทผู้สอน กำหนดบทบาทผู้เรียน และกำหนดสื่อการเรียน2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน และการดำเนินการเรียนการสอน 3) ด้านการควบคุม ได้แก่ การจัดการและควบคุมการเรียนบนเว็บ4) ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ การประเมินผล 5) ด้านข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุง และจากการทดลองใช้การเรียนการสอนด้วย 4MAT โดยใช้การเรียนรู้เชิงวัตถุบนเว็บที่พัฒนาขึ้นโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีตรรกะของนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: การเรียนการสอนด้วย 4MAT การเรียนรู้เชิงวัตถุ การคิดอย่างมีตรรกะ รูปแบบการคิด
Abstract
The purposes of the research were to study and compare learning achievement and logical thinking of secondary students with incongruent cognitive styles. The 4MAT approach using a set of Web-based multimedia learning objects was operated.The samples comprised 60-Mattayom three students from Potisarn Pittayakorn School, Taling Chan,Bangkok. Their cognitive processing was initially examined by the Group Embedded Figures Test(GEFT). Then the participants were randomly assigned into two experimental groups, each of which consisted of 30 field independent and 30 field dependent learners. As results, the developed 4MAT design contains 5 principal components i.e. 1)input involving the identification of instructional objectives, lesson contents, roles of instructors and learners, as well as the indication of online learning media 2) process enclosing the design of learning activities and implementation of online instructional process 3) control, relating to e-learning management and administration 4) output, explicitly referring to the evaluation of Web-based instruction 5) feedback enhancing further improvement.Following the module implementation, it was discovered that learning achievement and logical thinking of students with dissimilar cognitive styles were significantly different (p<.05).
Keywords: 4 MAT Method, Learning Object Multimedia, Logical Thinking, Cognitive Style
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น