บุพปัจจัยของความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

Main Article Content

ปลื้มใจ สินอากร
บัณฑิต ผังนิรันดร์
อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาถึงบุพปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจากสถานประกอบการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพาราในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน280 แห่ง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงชั้น (Hierarchical Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์ปัจจุบันของอัตราผลสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่ในระดับ .691 (พิสัยคะแนนระหว่าง 0–1) ตัวแปรบุพปัจจัย ได้แก่ ความชัดเจนขององค์กร การบริหารโครงการความเร็วในการเข้าสู่ตลาด คุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลการดำเนินงานทางการตลาด ความพึงพอใจของสมาชิกในทีม และนวัตกรรมขององค์กรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงชั้น พบว่าตัวแปรบุพปัจจัย ได้แก่ การบริหารโครงการ ผลการดำเนินงานทางการตลาด และนวัตกรรมขององค์กรส่งผลต่ออัตราผลสำเร็จของการพัฒนผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายอัตราผลสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ร้อยละ 52

คำสำคัญ: บุพปัจจัย ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา

 

Abstract

The main purpose of this research was to study antecedent affecting the success in new product development of Parawood furniture industry in Bangkok metropolitan area and vicinity. Aquestionnaire and interviews were employed to collect research data from entrepreneurs of 280 Parawood furniture industry enterprises in Bangkok metropolitan area and vicinity. Research data were analyzed with descriptive statistics and hierarchical regression analysis. Research findings showed that the present rate of success in new product development was at .691 (from the score range of 0–1). The antecedent, namely, clarity of operation of the organization, the project management, speed in entering the market, the quality of the product, the outcome of marketing operation, satisfaction of team members, and the organizational innovation were appropriate at the moderate level. Furthermore,the findings from hierarchical regression analysis indicated that the antecedent that significantly affected the success rate in new product development were the followings: the project management, the outcome of marketing operation, and the organizational innovation. Altogether, they could predict 52 percent of the success rate in new product development.

Keywords: Antecedent, New Product Development Success, Parawood Furniture Industry

Article Details

บท
บทความวิจัย