ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ จิตวิญญาณในองค์การ ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้น ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธมลวรรณ มีเหมย
รัตติกรณ์ จงวิศาล
ไฉไล ศักดิวรพงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ จิตวิญญาณในองค์การผลการปฏิบัติงาน เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ จิตวิญญาณในองค์การ และผลการปฏิบัติงานตลอดจนศึกษาปัจจัย ด้านภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้จิตวิญญาณในองค์การ ที่ร่วมกันอธิบายผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้น โดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารระดับต้นของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 210 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ จิตวิญญาณในองค์การ และผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง 2)ผู้บริหารระดับต้นที่มีเพศ อายุ สถานภาพและอายุงานต่างกันมีผลการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันส่วนผู้บริหารระดับต้นที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ และจิตวิญญาณในองค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .373, .394 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ตัวแปรภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ จิตวิญญาณในองค์การ สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้นได้ร้อยละ 20.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ จิตวิญญาณในองค์การผลการปฏิบัติงาน

 

Abstract

The objectives of this research were to study the level of servant leadership, spirituality in organization and job performance to compare job performance of individual characteristics to study relationship between servant leadership, spirituality in organization and job performance of managers and to study common predictors of job performance from servant leadership and spirituality in organization of managers. The samples of this research were managers at a private industrial business in total numbers of 210. Analysis of data used statistical program. The results of the research had showed the following 1) level of servant leadership, spirituality in organization and job performance of managers were at high level 2) managers who were difference in sex, age, status and work experience were none significant with job performance and managers who were difference in educations had difference in job performance with statistical significance 3) servant leadership and spirituality in organization had a positive relationship with the job performance of managers at .01 level of significant. (r = .373, .394respectively) 4) multiple regression indicated that servant leadership, spirituality in organization can predict 20.10 % (R2 = .201) the Job Performance at.01 level of significant.

Keyword: Servant Leadership, Spirituality in Organization, Job Performance

Article Details

บท
บทความวิจัย