การอนุญาตให้เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ที่มีผลต่อความร่วมมือในการทำงานของพนักงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือในการทำงานของพนักงาน และเพื่อเปรียบเทียบความร่วมมือในการทำงานของพนักงานก่อนและหลังการทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความร่วมมือในการทำงานของพนักงานของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบความร่วมมือในการทำงานของพนักงานจากการประเมินโดยหัวหน้างานก่อนและหลังการทดลอง4) เพื่อเปรียบเทียบความร่วมมือในการทำงานของพนักงานจากการประเมินโดยหัวหน้างานและการประเมินโดยพนักงานทั้งก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 36 คน เป็นพนักงานของบริษัทเฟรชมีทโพรเซสซิ่ง จำกัด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง24 คน กลุ่มควบคุม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลและแบบประเมินความร่วมมือในการทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊ค โปรแกรมเกมส์ Counterstrike ติดตั้งระบบ Lan สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนการทดลองกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีความร่วมมือระดับปานกลางและหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความร่วมมือในการทำงานระดับสูง แต่กลุ่มควบคุมมีความร่วมมือในการทำงานระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1พบว่าความร่วมมือก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .00แต่กลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน 2) ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีความร่วมมือในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีความร่วมมือในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความร่วมมือในการทำงานของพนักงานจากการประเมินโดยหัวหน้างานของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ในทั้งก่อนและหลังการทดลองการประเมินความร่วมมือในการทำงานของพนักงานจากการประเมินโดยหัวหน้างานและการประเมินโดยพนักงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: ความร่วมมือในการทำงาน เกมส์คอมพิวเตอร์
Abstract
The purposes of this research are : 1) To find out the level of work cooperation before and after treatment and compare work cooperation of, employees before and after the experiment 2) To compare work cooperation of employees inexperimental and control groups, 3) To compare work cooperation of employees evaluated by supervisors in the experimental and control group before and after experiment, 4) To compare work cooperation of employees evaluated by supervisor and employees themselves before and after the experiment. Tools used for this research were a questionnaire for personal data and work cooperation, desktop and notebook computers counter-strike computers game, connected with Lan. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test F-test and ANCOVA. Results reveal the following 1 before the experiment, either experimental group or control groups showed a moderate level of work cooperation but after the experiment, the experimental group expressed a high level of work cooperation while the control group still had a moderate level. The results of hypotheses testing could be demonstrated as follows: 1) Before and after the experiment, the experimental group showed different work cooperation at statistical significant level of .00while the control group did not show any significant difference. 2) Before the experiment, experimental group and control groups had different work cooperation with a statistical significance level of.05 and after experiment, experimental group and control group had different work cooperation with a statistical significance level of .01. 3) Among the experimental group, work cooperation of employees evaluated by supervisors both before and after experiment had different work cooperation with a statistical significance level of .01. 4) Before and after the experiment, work cooperation of both employees evaluated by supervisors and by employees had different work cooperation with a statistical significance level of .05.
Keywords: Computer Games, Work Cooperation
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น