การให้สินบนตำรวจ: อรรถาธิบายเชิงการเรียนรู้ทางสังคม

Main Article Content

เจษฎา นพคุณ ตั้งจิตนบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม และตัวแบบโครงสร้างทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคมเพื่ออธิบายการให้สินบนตำรวจจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าการให้สินบนตำรวจได้รับอิทธิพลจากทัศนคติเชิงแก้ต่างให้แก่การให้สินบนการเอาอย่างบุคคลในข่าว และปฏิกิริยายอมรับการให้สินบนของตำรวจ ซึ่งเป็นตัวแปรการเรียนรู้ทางสังคมในขณะเดียวกันการให้สินบนแก่ตำรวจยังได้รับอิทธิพลจากความคับคั่งจอแจของละแวกที่ทำงานและอคติที่ประชาชนทั่วไปในละแวกที่ทำงานมีต่อตำรวจ ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงโครงสร้างทางสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตัวแปรการเรียนรู้ทางสังคมและตัวแปรเชิงโครงสร้างทางสังคมพร้อมกันด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบเชิงชั้น สรุปได้ว่าอิทธิพลที่ตัวแปรเชิงโครงสร้างทางสังคมทั้งสองตัวมีต่อการให้สินบนตำรวจถูกคั่นกลางโดยตัวแปรการเรียนรู้ทางสังคมทั้งสามตัว

คำสำคัญ: การให้สินบน การเรียนรู้ทางสังคม ตัวแบบโครงสร้างทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคม

 

Abstract

Social learning theory (SLT) and social structure and social learning (SSSL) model were applied to explain police bribing in the sample found in Bangkok. This research found out that, social learning variables comprising neutralizing definitions, imitation via newspaper article, and police’s reaction when bribed significantly influenced police bribing. Social structural variables including density of work vicinity and people in work vicinity’s prejudice against police also significantly influenced police bribing. However, when all variables were entered simultaneously, all social learning variables jointly mediated the influence of the two social structural variables over police bribing.

Keywords: Bribing, Social Learning, Social Structure and Social Learning Model

Article Details

บท
บทความวิจัย