รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านการโรงแรมและบริการ งานบริการส่วนหน้า ตามมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะวิชาชีพ ด้านการโรงแรมและบริการ งานบริการส่วนหน้า ตามมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดทำโมดูลการเรียนฐานสมรรถนะวิชาชีพด้านการโรงแรมและการบริการ งานบริการส่วนหน้า ตามมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม การดำเนินการวิจัยมีทั้งหมด 7 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) กำหนดกรอบแนวคิดและออกแบบกระบวนการวิจัย โดยศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแปลงสมรรถนะจากมาตรฐานอาชีพลงสู่หลักสูตรรายวิชาผู้วิจัยได้ออกแบบสร้างรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้ชื่อว่า กสิภาร์โมเดล (Kasipar Modelof Competency Bases Curriculum) 2) พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ตามขั้นตอนของกสิภาร์โมเดลและจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำประชาพิจารณ์ ความสอดคล้องความต้องการเกี่ยวกับกรอบโครงร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ได้ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านการโรงแรมและบริการงานบริการส่วนหน้า 4) ทดลองใช้กับสถานประกอบการโรงแรมราชาคีรี รีสอร์ท แอนด์สปา เพื่อนำมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับการทำงานงานบริการส่วนหน้า 5) กำหนดประชากรจากสถานศึกษาจำนวน 12 แห่ง และสถานประกอบการจำนวน 10 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจากสถานศึกษาจำนวน 9 แห่ง นักศึกษาจำนวน 41 คนและสถานประกอบการด้านการโรงแรมที่มีนักศึกษาฝึกงานจำนวน10 แห่ง ในการนำไปสู่การปฏิบัติใช้งาน ผู้วิจัยนำชุดโมดูลการเรียนไปทดลองใช้จริงในสถานศึกษาที่เปิดสอนสาขาการโรงแรมและบริการที่ทำการสอนรายวิชางานบริการส่วนหน้าและนักศึกษาออกฝึกงาน ในภาคเรียนที่ 1/2553 จำนวน 9 สถานศึกษา 6) ติดตามเพื่อประเมิน โดยการใช้แบบประเมินความพึงพอใจในสมรรถนะของผู้เข้ารับการฝึกงานในสถานประกอบการ ที่เป็นนักศึกษาฝึกงานในหน้าที่งานบริการส่วนหน้า จากครูฝึกที่เป็นผู้ควบคุมการฝึกงานของนักศึกษา 7) วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลงานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของรายวิชาจากการสนทนากลุ่มและการทำประชาพิจารณ์หลักสูตรฐานสมรรถนะกับมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม พบว่ามีค่าคะแนน IOC มากกว่า 0.9 ขึ้นไปทุกรายวิชา นั่นคือมีความสอดคล้องทุกรายวิชาเทียบกับมาตรฐานอาชีพ2) ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนบทเรียนโมดูลและหลังบทเรียนโมดูล ทั้ง 6 โมดูลที่สร้างขึ้นมีผลการเรียนหลังบทเรียนสูงกว่าก่อนบทเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ผลการวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นด้านความเหมาะสมในการใช้งานของนักศึกษาที่มีต่อการใช้โมดูลในการเรียนของทุกรายหัวข้อการประเมินพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากของทุกด้าน 4) ผลการวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นด้านความเหมาะสมในการใช้โมดูลในการเรียนการสอน ทุกด้านการประเมินพบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกด้าน 5) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของครูฝึกในสถานประกอบการ ที่สังเกตการแสดงสมรรถนะในงานบริการส่วนหน้าโรงแรมของนักศึกษาฝึกงาน พบว่านักศึกษาสามารถแสดงสมรรถนะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 6 โมดูล
คำสำคัญ: รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะโรงแรมและบริการ งานบริการส่วนหน้าโมดูลฐานสมรรถนะการโรงแรมและบริการงานบริการส่วนหน้า
Abstract
The purpose of this research was 1) To develop Vocational Competency Standard Based Curriculum in Hotel, Hospitality, and Front Office Programs according to the Hotel Industrial Occupational Standard, 2) to develop model for organizing Vocational Competency Based Learning Modules of those three programs. The samples of this study were the instructors in Vocational Colleges, trainers in the hotels, students, and trainees. The research tools used for collecting the data included questionnaires, and focus group discussion. Frequency, percentage, mathematics mean, standard division, IOC, and t-test. The research had seven steps which included 1) Kasipar Model of Competency Based Curriculum had been constructed, 2) development of Competency Based Curriculum by using Kasipar Model. Focus group had been organized to ensure the quality of the model, 3) construct Competency Based Module and training model, 4) Competency Based Module had been tried out, 5) the teachers in 9 colleges, and their student were on the job training,6) monitoring and evaluating of trainees or students,7) analyzed related information and finalized the study. It was found that 1) Competency Based Curriculum which was developed related Vocational Subjects. The specialists agreed that the construced module was suitable for the needs of workplace,2) the students' grades were higher significantly at the .01 level, 3) the students' opinions on the Modules was at high level, 4) the teachers'opinions on the Modules was at highest level, 5) the students who were trained by the Modules satisfied with all competency at the highest level.
Keywords: Development Competency Based Curriculum in Hospitality and Services, Competency Based Modules in Hotel and Hospitality, Front Office Program
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น