การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย วิชาเขียนแบบวิศวกรรม 1 เรื่องภาพตัด

Main Article Content

ชูชีพ เขียวอุบล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการดำเนินการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย วิชาเขียนแบบวิศวกรรม 1 เรื่องภาพตัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และศึกษาทัศนคติของนักศึกษาสาขาอุตสาหกรรมศาสตร์ ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาอุตสาหกรรมศาสตร์จำนวน 30 คน ที่ศึกษาในรายวิชาเขียนแบบวิศวกรรม 1 คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องภาพตัด กลุ่มตัวอย่างมีผลการเรียนรู้มากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีทัศนคติในการเรียนรู้ด้วยการใช้สื่อดังกล่าวในระดับที่ดีมากจากผลการวิจัยนี้ จึงเสนอแนะให้ผู้สอนในสาขาอุตสาหกรรมศาสตร์ควรนำบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องภาพตัด ไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อไป

คำสำคัญ: บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ภาพตัดผลสัมฤทธิ์ ทัศนคติ

 

Abstract

This research has been conducted to develop the multimedia computer lesson on Engineering -Drawing I course, Section View. The objectives of this were to investigate the use of the multimedia computer lesson, and to evaluate the learning achievement and to study attitudes of industrial students. The sample group consisted of 30industrial students who were enrolled in the Engineering Drawing I course at the faculty of Technology and Industrial management, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. The results of research showed that the learning achievement of the sample group improved after the experiment with statistical significance at .05 and their attitudes were excellent. Based on the research, it is recommended that industrial Instructors should incorporate the multimedia computer lesson, section view, in their teaching to enhance their students’ learning ability.

Keyword: Multimedia Computer Lesson, Section View, Achievement, Attitudes

Article Details

บท
บทความวิจัย