การตรวจวัดการบวมตัวของพอลิเมอร์หลอมเหลวในกระบวนการผลิตแบบอัดรีด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การตรวจวัดการบวมตัว (Extrudate Swell) ของพอลิเมอร์ หลอมเหลวมีความสำคัญในกระบวนการผลิตแบบอัดรีด (Extrusion Process) ทั้งนี้เนื่องมาจากเป็นตัวแปรสำคัญ ในการควบคุมคุณภาพและขนาดสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ พอลิเมอร์ภายหลังถูกอัดรีดออกมาจากหัวขึ้นรูป (Die) โดยทั่วไปการวัดการบวมตัวของพอลิเมอร์สามารถแบ่งได้ เป็น 3 รูปแบบด้วยกันคือ การวัดปริมาณการบวมตัวในหัว ขึ้นรูปทรงกลม (Circular Die) การวัดการบวมตัวในหัวขึ้น รูปแบบวงแหวน (Annular Die) และวิธีการชั่งน้ำหนัก (Weighing Method) ส่วนเทคนิคที่ใช้ในการวัดขนาด พอลิเมอร์เพื่อคำนวนอัตราการบวมตัว (Extrudate Swell Ratio) ประกอบด้วย 2 เทคนิคการวัดคือ การวัดแบบสัมผัส โดยตรง (Direct Contact) และการวัดแบบไม่สัมผัสโดยตรง (Indirect Contact) นอกจากนี้ในบทความยังได้นำเสนอ เทคนิคใหม่ที่สามารถวัดอัตราการบวมตัวตามแนวรัศมี (Radial Extrudate Swell Ratio) ของพอลิเมอร์หลอมเหลวใน หัวขึ้นรูปแบบทรงกลม โดยองค์ความรู้ที่ได้สามารพัฒนา ไปสู่การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต แบบอัดรีดร่วม (Co-extrusion Process) ต่อไป
คำสำคัญ : พอลิเมอร์หลอมเหลว การบวมตัวของพอลิเมอร์ หลอมเหลว หัวขึ้นรูปกระบวนการผลิตแบบอัดรีด
Abstract
Measurement of extrudate swell of melted polymer is very important for extrusion process. This is because it is an important factor in the final control of quality and size of polymer product after compression on die. Generally, measurement of polymer ’s extrudate swell can be divided into 3 types: measurement of extrudate swell on circular die; measurement of extrudate swell on annular die; and measurement of extrudate swell by weighing method. There are 2 techniques used to measure polymer size in order to calculate extrudate swell ratio: measurement by direct contact and measurement by indirect contact. Moreover, this article also presents a new technique which is used for radial extrudate swell ratio of melted polymer on circular die. The presented body of knowledge can be used for control of product quality in the co-extrusion process.
Keyword : Polymer Melt, Extrudate Swell, Die, Extrusion Process
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น