อิทธิพลของความเคร่งศาสนา ความรู้สึกแปลกแยก และค่านิยมประชาธิปไตยที่มีต่อพฤติกรรมแบบประชาธิปไตย (การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการต่อต้านเผด็จการ)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 2 ประการ ประการแรก เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความเคร่งศาสนา ค่านิยมประชาธิปไตย ความรู้สึกแปลกแยก และพฤติกรรม แบบประชาธิปไตยของอาจารย์และนักศึกษาระดับ มหาวิทยาลัยของรัฐ ประการสอง เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และอิทธิพลระหว่างความเคร่งศาสนา ค่านิยมประชาธิปไตย ความรู้สึกแปลกแยก และพฤติกรรมแบบประชาธิปไตย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 614 ตัวอย่าง เป็นอาจารย์ 218 ตัวอย่าง และนักศึกษา 396 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรม LISREL ผลสรุปพบว่า ประการแรก อาจารย์ และนักศึกษา มีระดับความเคร่งศาสนาน้อย มีความ รู้สึกแปลกแยกไม่มาก มีค่านิยมประชาธิปไตยปานกลาง และไม่ค่อยแสดงพฤติกรรมแบบประชาธิปไตย ให้ปรากฏ ชัดเจน เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า ความเคร่งศาสนา ความรู้สึกแปลกแยก ค่านิยมประชาธิปไตย และ พฤติกรรมแบบประชาธิปไตย (การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการต่อต้านเผด็จการ) มีความสัมพันธ์กัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้สึกแปลกแยกกับความเคร่งศาสนา และความรู้สึก แปลกแยกกับค่านิยมประชาธิปไตย ที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม เมื่อแยก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ออกเป็นคู่ๆ พบว่า ค่านิยม ประชาธิปไตยมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อพฤติกรรมแบบ ประชาธิปไตยมากที่สุด โดยความเคร่งศาสนาและ ความรู้สึกแปลกแยก มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแบบ ประชาธิปไตยน้อยลงมาตามลำดับ ประการสอง โดย โปรแกรมลิสเรล พบว่าความเคร่งศาสนามีอิทธิพลเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่านิยมประชาธิปไตย และ พฤติกรรมแบบประชาธิปไตย แต่มีอิทธิพลอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติต่อความรู้สึกแปลกแยก โดยความรู้สึก แปลกแยกมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อพฤติกรรมแบบประชาธิปไตย แต่ไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติต่อค่านิยมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามค่านิยม ประชาธิปไตยมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติต่อพฤติกรรมแบบประชาธิปไตยมากกว่าอิทธิพล ที่มาจากความเคร่งศาสนา
คำสำคัญ : ความเคร่งศาสนา ความรู้สึกแปลกแยก ค่านิยมประชาธิปไตย พฤติกรรมแบประชาธิปไตย
Abstract
This research has two objectives. First is to get basic information about Religiosity, Alienation, Democratic value and Democratic behavior. Second is to analyze relationship and affection between Religiosity, Alienation, Democratic Value and Democratic behavior. Sample sizes are 614 cases, 218 Faculty members and 396 Students. Multi - stage sampling is used in collecting data and also used LISREL program in analyzing. We can conclude that, firstly, Faculty members and Students are less religious, not much in alienation and moderate in Democratic value with no strong indication of Political behavior. We found that Religiosity, Alienation, Democratic value and Democratic behavior are significantly correlated except between Alienation and Religiosity and also Democratic value, which correlation is not significant. However, when analyze each pair, we found that Democratic value has the most positive affection to Democratic behavior and also Religiosity and Alienation accordingly. Secondly, according to LISREL program, we found that Religiosity positively and significantly affects the Democratic value and Democratic Behaviors but does not significantly affect the Alienation. The Alienation positively and significantly affects to Democratic Behaviors but does not significantly affect the Democratic Values. However, Democratic Value has more affection to Democratic Behavior than Religiosity does.
Keywords : Religiosity, Alienation, Democratic Values and Democratic Behaviors
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น