พฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

อภิญญา อิงอาจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริตของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความซื่อสัตย์สุจริตของนักศึกษา โดยจำแนกตามเพศ สาขาวิชา สภาพของครอบครัวของนักศึกษา ระดับ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนใช้เหตุผล ระดับ ความใกล้ชิดศาสนาของครอบครัว และ ระดับทัศนคติ ต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริต โดยมีลักษณะ ของเพื่อนเป็นตัวแปรผันร่วม ซึ่งจากผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ สาขาวิชา ระดับการอบรมเลี้ยงดู แบบรักสนับสนุน ระดับความใกล้ชิดศาสนาของ ครอบครัว และระดับทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรม ต่างกัน มีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริตแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยตัวแปรอิสระชุดนี้ ร่วมกันอธิบายผลต่อตัวแปรพฤติกรรมความซื่อสัตย์ สุจริตได้ร้อยละ 12.8 และเมื่อควบคุมตัวแปรลักษณะ เพื่อน ปรากฏว่า ชุดของตัวแปรอิสระร่วมกันอธิบาย ผลต่อตัวแปรจริยธรรมด้านพฤติกรรมความซื่อสัตย์ สุจริตเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 17.2

คำสำคัญ : ความซื่อสัตย์สุจริต พฤติกรรม การอบรมเลี้ยงดู ความใกล้ชิดศาสนา ทัศนคติ

Abstract

A study of honesty behaviors of students in higher education in Bangkok and metropolitan areas examines students’ honesty behaviors classified by their genders, study fields, family status, level of supporting and reasoning care, level of family’s religious involvement, and level of attitude towards honesty when peer characteristic was covariate. The research findings indicated that students with different genders, study fields, level of supporting and reasoning care, level of family’s religious involvement, and level of attitudes towards honesty had different honesty behaviors at a level of .01, and these independent variables can explain the impact on the variable of honesty behaviors at 12.8 percent. When the covariate of peer characteristic was controlled, all independent variables can increasingly explain the impact on the variable of honesty behaviors at 17.2 percent.

Keywords : Honesty, Behavior, Rearing Practice, Religion Closeness, Attitude

Article Details

บท
บทความวิจัย