ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ

Main Article Content

ชนัดดา เพ็ชรประยูร
ชูศรี เลิศรัตน์เดชากุล
นนทิรัตน์ พัฒนภักดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความ สามารถในการปรับตัวของนักศึกษาและปัจจัยที่ส่งผล ต่อความสามารถ ในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ ถดถอยด้วยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน ผลการ วิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถในการปรับตัว โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีความสามารถในการปรับตัวด้านสังคม อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการเรียนและด้านอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .01 ได้แก่ บุคลิกภาพ เปิดเผยอย่างมั่นคง และเกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถ ในการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 ได้แก่ เพศหญิง 3) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .01 ได้แก่ เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป (v1) บุคลิกภาพเก็บตัวอย่างหวั่นไหว (v2) และบุคลิกภาพเปิดเผยอย่างหวั่นไหว (v3) โดยตัวแปร ทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการปรับตัว ของนักศึกษาได้ร้อยละ 11.4 สมการการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวโดยภาพรวม = .169v1 – .322v2 – .131v3

คำสำคัญ : ความสามารถในการปรับตัว เพศ เกรดเฉลี่ย บุคลิกภาพ

Abstract

This study aims at investigating the levels of students’ self-adjustment ability and factors affecting students’ self-adjustment ability of the first year students in Public University. The sample group of this study included 360 first year undergraduate students of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. The rating scale questionnaire was used to collect data. The statistical techniques conducted to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise regression analysis. The results revealed that: 1) The level of the overall selfadjustment was high, but when each aspect was considered, the findings were as follows: The level of the social adjustment was high while the academic adjustment and the emotional adjustment were at moderate level. 2) The two variables positively correlated with the students’ selfadjustment ability were the stable extravert personality and the GPA which was higher than 3.00 at the significant level of .01. At the significant level of .05, there was only one variable, female, positively correlated with the self-adjustment ability. 3) According to the multiple regression analysis, there were three main variables being able to predict the students’ self-adjustment ability. These variables were GPA which is higher than 3.00 (v1), the unstable introvert personality (v2) and the unstable extravert personality (v3). All of the variables possess 11.4 % of ability to predict the students’ self-adjustment ability. The standard scores obtained from the multiple regression analysis were included in the equation. Then the equation being able to predict the students’ self-adjustment ability in this study was: self-adjustment ability = (.169)v1 – (.322)v2 – (.131)v3

Keywords : Self-adjustment Ability, Sex, GPA, Personality

Article Details

บท
บทความวิจัย