การจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม เพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้

Main Article Content

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
ธารี วารีสงัด
ปิยะชาติ โชคพิพัฒน์
พัชรินทร์ เหสกุล
กัลยกร ไพบูลย์
ธีรวัช บุณยโสภณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม การวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเพื่อก้าวไปสู่ อุตสาหกรรมฐานความรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ ในการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์เชิง พาณิชย์ เพื่อแสวงหาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการ กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ การส่งเสริมและ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อนำผลการวิจัยและ พัฒนาไปใช้ประโยชน์ให้ตรงกับความต้องการของภาค อุตสาหกรรม และเพื่อเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ ระบบการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้ง จัดทำแผนปฏิบัติการในการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมก้าวไปสู่ อุตสาหกรรมฐานความรู้และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยมีอุตสาหกรรมที่คัดเลือก 5 สาขาอุตสาหกรรม ประเทศที่ใช้เป็นกรณีศึกษาได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น การดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูล จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสอบถาม สถานประกอบการ การสัมภาษณ์ผู้แทนจากองค์กร หน่วยงานต่างๆ และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษา วิจัยจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เสนอแนะมาตรการ แนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ในภาคอุตสาหกรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือ 1) การจัดทำ และกำหนดนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาที่มีความต่อเนื่อง 2) การส่งเสริมสนับสนุน งบประมาณ ทุนวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม 3) การจัดตั้งกองทุน แหล่งทุนด้านการวิจัยและพัฒนา เฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม 4) การจูงใจส่งเสริมสนับสนุน สถานประกอบการให้มีการทำวิจัยและพัฒนา 5) การจูงใจ นักวิจัยในสถานประกอบการ เพื่อสร้างผลงานวิจัย ที่เป็นประโยชน์ในภาพรวมการพัฒนาอุตสาหกรรม ของประเทศ 6) การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อ การวิจัยและพัฒนาที่สถานประกอบการสามารถใช้ ประโยชน์ได้ 7) การพัฒนากำลังคนในสถานประกอบการ ให้เป็นนักวิจัยหรือมีขีดความสามารถด้านการวิจัย และการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย 8) การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความร่วมมือการวิจัย และพัฒนาที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น 9) การบริหาร จัดการความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างเป็น ระบบ

คำสำคัญ : การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม; ฐานความรู้

Abstract

The present study, Project to Formulate Action Plans to Promote Research and Development in the Industrial Sector towards Knowledge-Based Industry. The objectives were: to analyze strength, weakness, opportunities and threats of policies, strategies and measures to promote and support research and development and to commercialize research and development, to seek indicators for policies, strategies and measures to promote and support research and development so that research and development can respond to the industry’s needs, to recommend policies, strategies and measures of research and development system of the industrial sector and to formulate action plans to promote and support research and development so as to drive the industrial sector towards knowledgebased industry and creative industry. Five sector industriel, have been selected. The case study of Japan, the research was conducted via gathering and reading related documents and research, collected questionnaires from focusing on the targeted 5 industries/, interviewing representatives various organizations, and focus group meetings, a seminar was held for stakeholders to share their comments on the research findings. Recommendations/ measures/ directions to promote and support R&D in the industrial sector of relevant people are : 1) Formulation of policies to promote and support R&D with continuity. 2) Promotion and support of budget/R&D fund. 3) Creation of fund/funding sources in the specific industrial R&D. 4) Incentives for entrepreneurs to undertake R&D. 5) Incentives for researchers in factories to create R&D work so as to benefit the country’s overall industrial development. 6) Development of basic infrastructures necessary for R&D so as to benefit entrepreneurs. 7) Development of manpower in factories to become researchers or those with potential in R&D and application of the R&D work. 8) Networking of cooperation between universities, factories and the government sector so as to expand R&D cooperation. 9) Management of knowledge on industrial R&D so that relevant people can systematically gain access to the knowledge.

Keyword : Promote Research and Development, Knowledge-based Industry

Article Details

บท
บทความวิจัย