กิจกรรมการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ: กรณีศึกษารถบรรทุกกึ่งพ่วง

Main Article Content

ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี
สุรศักดิ์ สุรนันทชัย
นฤมล พินเนียม ชนะไพฑูรย์
กุสุมา ผลาพรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาปัญหาที่เกิดจากคุณภาพของ รถบรรทุกกึ่งพ่วงที่ส่งมอบให้กับลูกค้าแล้ว เมื่อปีที่แล้วใน โรงงานผลิตรถบรรทุกกึ่งพ่วงตัวอย่างมีรถ จำนวน 40 คัน ที่มีปัญหาคุณภาพหลังส่งรถให้กับลูกค้าแล้ว และมี ค่าใช้จ่ายในการซ่อมประมาณ 20,000 บาทต่อคัน เมื่อใช้หลักการวิศวกรรมแบบมีส่วนร่วมในการหา สาเหตุของปัญหา พบว่ากิจกรรมการออกแบบ และการ ใช้เทคโนโลยีเป็นสาเหตุสำคัญ เมื่อนำหัวข้อปัญหามา แปลงเป็นข้อความทางวิศวกรรมด้วยเทคนิคการแปลง หน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) แล้วผลจากการแปลงจะ ทำให้ได้ข้อความทางวิศวกรรม การดำเนินงาน และ กิจกรรมการออกแบบ งานวิจัยได้พิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ด้วยการเปรียบเทียบกิจกรรมการออกแบบระบบเดิมกับ ระบบใหม่ ซึ่งการดำเนินการออกแบบที่สำคัญ ได้แก่ การเขียนชิ้นงาน 3D การประกอบชิ้นงาน 3D การใช้ งานข้อมูลที่ได้จาก CAD มีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญ (p<0.05) ผลลัพธ์ของกิจกรรมการออกแบบ ได้แก่ รายงานข้อมูลความแข็งแรง การติดตามความ พึงพอใจหลังการขาย คำนวณอัตราบรรทุกต่อต้นทุน และคำนวณอัตราบรรทุกต่อน้ำหนักโครงสร้าง มีค่า น้ำหนักความสำคัญร้อยละ 17.46, 11.65, 11.53, 11.53 ตามลำดับ ผลจากการวิจัยได้กิจกรรมการออกแบบ และค่าเป้าหมายที่สามารถเปรียบเทียบด้วยค่าชี้วัด คุณภาพ ทำให้เกิดความปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายใน การซ่อมบำรุง

คำสำคัญ : กิจกรรมการออกแบบ การแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) วิศวกรรมแบบมีส่วนร่วม

Abstract

This research studied quality problems of semi-trailers that already submitted to the customers. Last year, a factory producing semi-trailers faced a big quality problem when 40 new semi-trailers were sent back to be repaired with the cost of around 20,000 baht per trailer. When utilizing concurrent engineering principlesto seek for the causes of the problem, they were found that design and using of technology activities were the main causes. Then, the problems were transformed to utilizing quality function deployment (QFD) to get the engineering massages, operations, and design activities. This work considered basic information by comparing existing design procedure with the new system. The important design operations: 3-D drawing, 3-D assembly and using of data form CAD were different significantly (p < 0.05). The results of design activities: report on strength data, following after sale satisfaction, rate of load per investment calculation and rate of load per structural weight calculation had important weight of 17.46, 11.65, 11.53 and 11.53, respectively. As the resets of this work, design activities and target values that can compare with quality index were found. Finally, the results lead to safety and decease maintenance costs.

Keywords : Design Activity, Quality Function Deployment (QFD), Concurrent Engineering (CE)

Article Details

บท
บทความวิจัย