การพัฒนาระบบการฝึกอบรมความสามารถสำหรับพนักงานฝ่ายผลิต ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทปั๊มขึ้นรูป
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการฝึกอบรมความสามารถ สำหรับพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทปั๊มขึ้นรูปโดยใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (Quality Function Deployment: QFD) การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1) การสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมพนักงาน ซึ่งได้แก่พนักงาน หัวหน้างานและผู้จัดการของฝ่ายผลิตฝ่ายควบคุมคุณภาพ และฝ่ายทรัพยากรบุคคล2) การแปลงความต้องการนั้นเข้าสู่เฟสต่างๆ ของQFD ทั้ง 4 เฟส ได้แก่ การวางแผนผลิตภัณฑ์การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวางแผนกระบวนการและการวางแผนการผลิต 3) การดำเนินการปรับปรุงในบริษัทตัวอย่าง ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาทำให้ระดับความสามารถของพนักงานฝ่ายผลิตสูงขึ้นซึ่งวัดได้จากระดับคะแนนหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.61% จำนวนความผิดพลาดของพนักงานฝ่ายผลิตลดลงเฉลี่ย 21.73% และจำนวนชิ้นงานเสียลดลงเฉลี่ย 45.22%
คำสำคัญ: เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ บ้านแห่งคุณภาพ ระบบการฝึกอบรมความสามารถ อุตสาหกรรมยานยนต์
Abstract
The objective of this research was to develop the competency training system for production operators in automotive press part industry by quality function deployment or QFD technique. The procedure for this research was conducted by three main steps, which were 1) Investigation for the requirements of persons involved in operator training, operators, leaders and managers of production department, quality control department and human resource department, 2) Transformation of the requirements into 4 phases of QFD, which were product planning, design deployment, process planning and production planning, and 3) Implementing QFD to the case study companies. The results from this research were shown that the competency level of production operators increased 16.61%, operator error decreased 21.73% and number of defective parts decreased 45.22%.
Keyword: Quality Function Deployment, House of Quality, Competency Training System, Automotive Industry
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น