กระบวนการสนับสนุนการตัดสินใจในการนำชิ้นส่วนยานยนต์ ไปใช้ใหม่หลังหมดอายุการใช้งาน: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยางรถยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกระบวนการ สนับสนุนการตัดสินใจที่สามารถประเมินหลักเกณฑ์ และการตัดสินใจเลือกแนวทางการนำยางรถยนต์มาใช้ใหม่ หลังหมดอายุการใช้งาน โดยใช้เทคนิคการแปลง หน้าที่ทางคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม (Quality Function Deployment for Environment: QFDE) เพื่อหาปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจ และวิธี กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) เพื่อหาระดับความสำคัญของแต่ละ ปัจจัยและประเมินการตัดสินใจด้วยการวิเคราะห์วิธีทฤษฎี คุณลักษณะอรรถประโยชน์หลายทาง (Multi - Attribute Utility Theory: MAUT) และวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering: VE) กรณีศึกษาในงานวิจัยนี้เป็นบริษัทขนาด กลางและผู้มีอำนาจตัดสินใจในโครงการนี้เป็นพนักงาน บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและมีส่วนที่เกี่ยวข้องที่จะ พิจารณาโดยตรง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่แสดงใน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติผสม ยางรีไซเคิล 35% เป็นแนวทางในการออกแบบการ ตัดสินใจที่ดีที่สุดด้วยค่าระดับความสำคัญเท่ากับ 0.6271 ค่าฟังก์ชันอรรถประโยชน์เท่ากับ 1 และค่าดัชนี วิศวกรรมคุณค่าเท่ากับ 34.72
คำสำคัญ : เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น ทฤษฎีคุณลักษณะอรรถประโยชน์หลายทาง วิศวกรรมคุณค่า
Abstract
The objectives of this research are to design a decision support methodology that is able to evaluate criteria and guide on recycle end of life tyre of vehicles. The research applies Quality Function Deployment for Environment (QFDE), Analytic Hierarchy Process (AHP), Multi - Attribute Utility Theory (MAUT) and Value Engineering (VE), in order to evaluate decision on recycle end of life tyre of vehicles which are tested with a small and Medium Enterprise (SMEs) company in according to high experience expert in its field. The results have shown that the rubber mixed with 35% reclaimed rubber is the most optimum with the weighting of 0.6271, MAUT is equal to 1 and VE is equal to 34.72.
Keywords : Quality Function Deployment for Environment, Analytic Hierarchy Process, Multi - Attribute Utility Theory, Value Engineering
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น