การศึกษาสมรรถนะเชิงความร้อนของปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศ แบบธรรมชาติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในสภาวะอากาศแบบร้อนและชื้น

Main Article Content

ปรีดา จันทวงษ์
จงจิตร์ หิรัญลาภ
โจเซฟ เคดารี
พิชัย นามประกาย
วิชาญ วิมานจันทร์
จตุพร พรหมดวง
ยงยุทธ์ ประพันธ์
วีรยุทธ ปีตวัฒนกุล
กิตติพงษ์ เสนแก้ว
ธีระยุทธ กะตากูล
วรรณชัย ไทยราช
นิรันดร์ ประทาน
วิสิษฏ์ เพ็ชรไม้
สิทธิโชค ไกรยงค์
อนุชา ประทุมวัน
ดิเรก สุพรรณ์
อภิชาติ เพียรแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบทดสอบระหว่างปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (RSCC) กับหลังคาทั่วไป (SRC)ปล่องหลังคา RSCC มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วยหลังคาสองชั้นมีขนาดพื้นที่ประมาณ 0.56 ตร.ม. มีช่องว่างประมาณ 0.01 ม. และช่องเปิดด้านล่างอยู่ภายในบ้านมีขนาด 0.15x0.70 ตร.ม. และช่องเปิดด้านบนอยู่ภายนอก มีขนาด 0.10x0.3 ตร.ม. ปล่องหลังคา RSCC ติดตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านจำลองขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากันบ้านจำลองมีปริมาตรเท่ากับ 4.05 ลบ.ม. สร้างด้วยผนังมวลเบาแบบอบไอน้ำ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของบ้านระหว่างบ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคา RSCC กับบ้านที่ติดตั้ง SRC ที่มีผลต่อการลดการสะสมความร้อนภายในห้องใต้หลังคาของบ้านจำลอง ผลการศึกษาทดลองพบว่า บ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคา RSCC มีอุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิของบ้านที่ติดตั้งหลังคาทั่วไป ทำให้อัตราการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาเข้าสู่บ้านทางด้านทิศใต้จะลดลง จะช่วยระบายอากาศภายในห้องและห้องใต้หลังคา ทำให้มีการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านดีขึ้น ปล่องหลังคา RSCC จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ: ปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศสภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร การระบายอากาศแบบธรรมชาติ

 

Abstract

This paper reports the comparison between an experimental Roof Solar Cells Chimney (RSCC) and a Simple Roof Concrete (SRC). The RSCC consisted of double roofs with the area of 0.56 m2 and 0.01 m.air gap. Its two openings size was 0.15 x 0.70 m2 and 0.10 x 0.30 m2, one of which was located at the bottom(room side) while another one was put at the top(ambient side). The RSCC was installed at the south façade of two model small houses of the same size.Their volume was 4.05 m3. Both of them were made of autoclaved aerated concrete. Then the comparison of RSCC and SRC performance for reducing heat gain thermal in the ceilings was made. It was found that the temperature of RSCC room was lower than that of the SRC room. Moreover, the RSCC could reduce heat gained through the south roof considerably and resulted in better ventilation in the house. The study also showed that RSCC can be used to promote alternative energy for conservation of energy and environment.

Keywords: Roof Solar Cells Chimney (RSCC),Hot and Humid Climate in Bangkok,Natural Ventilation

Article Details

บท
บทความวิจัย