การพัฒนาเซลล์การผลิตอัตโนมัติ: กรณีศึกษาเครื่องกัดซีเอ็นซีและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

Main Article Content

ธเนศ รัตนวิไล
สมชาย ชูโฉม
วิษณุ รัตนะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยี่ห้อ KUKA รุ่น KRC6 มาร่วมประยุกต์ใช้งานกับเครื่องกัดซีเอ็นซี ยี่ห้อ CINCINNATI รุ่น ARROW VMC 750 เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมลูระหว่างกันในการสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างสัมพันธ์กัน เป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาสู่เซลล์การผลิตแบบอัตโนมัติ ในการเพิ่มศักยภาพของเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น จากการศึกษาระบบโครงสร้างการทำงานของเครื่องกัดซีเอ็นซีและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมพบว่าการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องจักรทั้งสองจะต้องทำการพัฒนาระบบการเปิด-ปิดประตู และระบบการจับยึดชิ้นงานบนเครื่องกัด ซีเอ็นซีให้เป็นแบบอัตโนมัติด้วยระบบนิวเมติกส์และพัฒนาระบบวงจรการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครื่องกัดซีเอ็นซีกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วย M-function ของเครื่องกัดซีเอ็นซี เซลล์การผลิตที่พัฒนาขึ้นนี้ถูกทดสอบความถูกต้องและเหมาะสมโดยการเขียนโปรแกรม ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ให้ป้อนชิ้นงานให้กับเครื่องกัดซีเอ็นซีเพื่อกัดชิ้นงานตามแบบที่กำหนด พบว่าเครื่องจักรทั้งสองสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสัมพันธ์กันทุกขั้นตอน ผลสำเร็จของการพัฒนาเซลล์การผลิตระหว่างเครื่องกัดซีเอ็นซีและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นการยืนยันแนวคิดที่จะใช้เป็นแนวทางในการขยายผลไปสู่การพัฒนาระบบการผลิตแบบยืดหยุ่นที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: เครื่องกัดซีเอ็นซี หุ่นยนต์อุตสาหกรรมระบบเชื่อมโยงข้อมูล เชลล์การผลิต

 

Abstract

An application of KUKA industrial robot of a KR C6 model and a CINCINNATI CNC milling machine of VMC 750 model to enhance data link so that both machines can communicate and work together was one of development guidelines to form automatic production cells. This will increase potentiality and flexibility of machines. According to the investigation of structural operation system of CNC milling machine and an industrial robot, door open – close system and clamping system of CNC milling machine should be improved so that it could work automatically. This could bed one with the help of pneumatic system. M-function was suggested to be used to develop the interface system of the industrial robot and the CNC milling machine. The developed production cell was tested using the provided program for enabling the industrial robot to feed the work piece to the CNC milling machine to mill as designed. It was found that both machines could mutually operate every step of the designed process correctly and appropriately. The success of production cell development using an industrial robot and a CNC milling machine in this study confirmed that its extension to more complicated flexible manufacturing systems is possible.

Keywords: Machining Center, Industrial Robot,Interface, Cell Manufacturing

Article Details

บท
บทความวิจัย