การศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำ ผสมเส้นใยไมโครไฟเบอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมไมโครไฟเบอร์ ได้แก่กำลังต้านทานแรงอัด กำลังต้านทานแรงดัด ความหนาแน่นและอัตราการดูดซึมน้ำของคอนกรีตมวลเบาโดยมีการใช้เส้นใยไมโครไฟเบอร์ เพื่อเป็นส่วนผสมแทนที่ปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำไมโครไฟเบอร์มีองค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วยซิลิกาและแคลเซียมออกไซด์ เช่นเดียวกับปูนซีเมนต์แต่มีน้ำหนักเบา จึงได้ทดลองนำมาแทนที่ปูนซีเมนต์ ในอัตราส่วนร้อยละ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10.0 ผลการศึกษาพบว่า ส่วนผสมการแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีส่วนช่วยให้กำลังต้านทานแรงอัดและกำลังต้านทานแรงดัดเพิ่มมากขึ้น ผลการเปรียบเทียบกับปูนซีเมนต์ที่มีปริมาณอัตราส่วนผสมเท่ากัน และหากเปรียบเทียบผลการทดสอบกับค่าตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก 1505 - 2541 พบว่าสัดส่วนผสมแทนที่ซีเมนต์ร้อยละ 2.5 ผ่านเกณฑ์โดยจัดอยู่ในชั้นคุณภาพ 4 ชนิด 0.70
คำสำคัญ: คอนกรีตมวลเบาแบบอบไอน้ำ (AAC) เส้นใยไมโครไฟเบอร์ ความหนาแน่น
Abstract
This paper research related to the investigation of mechanical properties of Autoclaved Aerated Concrete (AAC) Containing microfiber, i.e. compressive strength, flexural strength density, and water absorption. The production uses microfiber application instead of cement in AAC production. Microfiber comprises of Silica and Calcium oxide, with are also the main chemical components of cement, but with lightweight. Thus, it has been used to replace the cement in the proportion of 0, 2.5, 5.0, 7.5, and 10.0 percent. The results show that, with the same cement quantity, the smaller particle has higher compressive strength and flexural strength. Based on the Thai Industrial Standard 1505-1998, the specimens in the proportion2.5 percent, were claimed for AAC class 4.Type 0.70.
Keywords: Autoclaved Aerated Concrete (AAC),Microfiber, Density
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น