Portfolio Analysis: An Alternative Approach to Clarifying Students’ Use of EFL Reading Strategies

Main Article Content

Songyut Akkakoson

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอทางเลือกในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากถ้อยความซึ่งถ่ายทอดจากความคิดของผู้อ่านในรูปแบบของการเขียนบรรยายลงในแฟ้มสะสมงานหลังจากผู้อ่านอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษที่ตนเลือกมา โดยที่หน่วยในการวิเคราะห์นั้นประกอบด้วย1) ถ้อยความ และ 2) กลยุทธ์การอ่าน เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนผู้เขียนได้นำเสนอตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจากงานวิจัยประเภทกึ่งทดลองระดับปริญญาเอกของผู้เขียนเอง โดยผู้เขียนศึกษาความแตกต่างในการเรียนรู้การใช้กลยุทธ์การอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศระหว่างสามกลุ่มย่อย (สูง กลางต่ำ) ซึ่งแบ่งตามระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเริ่มการทดลองสอน ผู้เรียนเหล่านี้เป็นกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนแบบเน้นการใช้กลยุทธ์การอ่านอย่างหลากหลาย ผู้เขียนวิเคราะห์การเรียนรู้ดังกล่าวจากข้อมูลในแฟ้มสะสมงานการอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษจำนวน 30 ชุด (10 ชุดจากแต่ละกลุ่มย่อย) ซึ่งเก็บสะสมตลอดระยะเวลา 16 สัปดาห์ของการเรียนรายวิชาการอ่าน 1 ผลจากการวิเคราะห์พบว่าผู้เรียนทั้งสามระดับสามารถถ่ายโอนกลยุทธ์การอ่านที่เรียนในชั้นเรียนเพื่อปรับใช้กับการอ่านในสถานการณ์อื่นๆ นอกชั้นเรียนได้ นอกจากนั้นผู้เรียนในกลุ่มความสามารถสูงกว่าสามารถใช้กลยุทธ์การอ่านได้บ่อยกว่าและในหลากแง่มุมมากกว่าผู้เรียนในกลุ่มที่มีความสามารถในระดับที่ต่ำกว่า ผู้เขียนพบว่าแม้จะมีข้อจำกัดบางประการการวิเคราะห์ข้อมูลการอ่านจากแฟ้มสะสมงานในลักษณะนี้สามารถใช้ได้ดีในทางปฏิบัติ และสะดวกในการวิเคราะห์และยังเหมาะกับการนำไปใช้ในการประเมินผลการใช้กลยุทธ์การอ่านของผู้เรียนในการเรียนการสอนด้านการอ่าน หรือเพื่องานวิจัยด้านการอ่าน

คำสำคัญ: การวิเคราะห์ข้อมูลการอ่านแบบแฟ้มสะสมงานการประเมินผลการใช้กลยุทธ์การอ่าน กลยุทธ์การอ่าน การถ่ายทอดความคิดของผู้อ่านหลังการอ่าน

 

Abstract

The aim of this paper is to propose an alternative approach to the analysis of readers’ verbal report data in the form of retrospective accounts of strategy use (portfolio entries) after reading English passages they chose by themselves. The idea units used for the purpose of this analysis comprise 1) statements provided and 2) reading strategies reported using.By way of illustration, an analysis of 30 portfolio entries of Thai EFL university student readers from science and technology disciplines in the author’s quasi-experimental research for his doctoral degree (ten in the high reading proficiency group, ten in the moderate and the other ten in the low) was showcased.These subjects were from the experimental cohort,taking the Reading I course and receiving strategies based instruction for the co-ordinated utilisation of multiple reading strategies for a period of 16 weeks.The results provide some evidence that the reading strategies learned in class were transferred to the learners’ other reading situations. Readers with higher-level reading proficiency demonstrated more frequent use of reading strategies and performed better in various aspects of the acquisition of reading strategies than did those with the lower-level reading proficiency. Although some limitations were found,portfolio entries as a data collection method are practical and convenient for analysis. It can also be employed as a form of reading strategy use assessment and a cross-validation or triangulation of the data obtained from other reading research instruments.

Keywords: Portfolio Entry Analysis, Reading Strategy Use Assessment, Reading Strategies,Retrospective Verbal Reports

Article Details

บท
Research Article