การพัฒนาเบื้องต้นเครื่องมือตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศอย่างง่าย

Main Article Content

พรรณวดี สุวัฒิกะ
ณพณัฐ แหวนจอน
ฐิติมา ตันโสภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ฝุ่นละอองจัดเป็นมลพิษอากาศที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพเป็นอย่างมาก และเป็นปัญหาที่สำคัญในหลาย พื้นที่ของประเทศไทย ฝุ่นละอองที่แขวนลอยอยู่ใน อากาศมีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ 100 ไมครอนลงไปจนถึง ขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน นอกจากผลต่อสุขภาพแล้ว ยังมีผลต่อทัศนวิสัย และทำให้เกิดความสกปรกต่อ ทรัพย์สินเกิดสภาพไม่น่าดู เครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ ตรวจวัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองในบรรยากาศมีราคา ค่อนข้างแพง การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาเครื่องมือ ตรวจวัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองในบรรยากาศอย่างง่าย เพื่อให้ชาวบ้านสามารถมีเครื่องตรวจวัดไว้ใช้ เพื่อเป็นการ เฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในชุมชน เครื่องมือที่สร้างขึ้น ใช้สติกเกอร์กระดาษเป็นตัวจับฝุ่น และอ่านค่าความดำ ของฝุ่นที่ติดบนสติกเกอร์โดยเทียบกับดัชนีความดำ ในพื้นที่ 3 แห่ง ที่มีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน แตกต่างกัน ได้แก่ บริเวณเขตเมือง (ภายในมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) บริเวณย่านพัก อาศัยภายในหมู่บ้านย่านชานเมือง และบริเวณเขต อุตสาหกรรม ระยะเวลาการเก็บตัวอย่าง 3 รอบๆ ละ 1 เดือน และเทียบค่าความดำของฝุ่นกับค่าเฉลี่ย ความเข้มข้นของฝุ่นละอองในบรรยากาศที่เก็บด้วยเครื่องมือ มาตรฐาน High Volume Air Sampler โดยเก็บตัวอย่าง ฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ทุกๆ 3 วัน เป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงเวลาเดียวกันกับการตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นอย่างง่าย ที่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ผลการศึกษาค่าความดำของฝุ่นจากเครื่อง ตรวจวัดฝุ่นอย่างง่าย พบว่า บริเวณพื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่เขตเมือง และพื้นที่พักอาศัยชานเมือง มีค่าความดำ ของฝุ่นสูงสุด 25%, 20% และ 10% ตามลำดับ การเปรียบเทียบค่าความดำของฝุ่นกับค่าเฉลี่ยความ เข้มข้นของฝุ่นละอองรวมในบรรยากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่า เดือนที่ 1 ค่าความดำ 15% เทียบได้กับค่าเฉลี่ย ความเข้มข้นของฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง 82 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร เดือนที่ 2 ค่าความดำ 15% เทียบได้ กับค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง 67 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเดือนที่ 3 ค่า ความดำ 20% เทียบได้กับค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฝุ่น ละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง 96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลการทดลองแสดงว่าอุปกรณ์อย่างง่ายสามารถแสดงความแตกต่างของความเข้มข้นของฝุ่นละอองในบรรยากาศ ได้ และสามารถดำเนินการโดยบุคคลทั่วไปที่ได้รับ การฝึกหัดเพียงเล็กน้อย

คำสำคัญ : การพัฒนาเครื่องตรวจวัดฝุ่น การตรวจวัดฝุ่นอย่างง่าย ฝุ่นละอองรวมในบรรยากาศ

Abstract

Particulate matter has an effect on human health and is an important problem in many places of Thailand. Suspended particulate matter in air varies in size from 100 microns to smaller than 0.1 micron. The others effect of particulate matter in ambient air are effect to visibility and soiling to our welfare. A measurement of dust concentration in ambient air currently relies on expensive equipment. This study emphasizes the making of simple equipment for monitoring the total dust in ambient air. So that each municipality may have a simple equipment to monitor suspended particulate matter in ambient air by itself. This equipment uses sticking paper for catching dust suspended in the air then the dust darkness on the sticking paper is read by comparing it with a grey-scale index card. This equipment was installed at three different sites. Each site had a different land use: urban (KMUTNB University), residential and mixed industrial areas. Monitoring was continuous over 3 months, with samples taken at one-month intervals from each site at the same time. The ambient dust concentration at the university site was measured with a high volume air sampler, every 3 days, throughout the three months period. The results showed that at the industrial, urban and residential area produced maximum darkness reading of 25%, 20% and 10%, respectively. A comparison of these darkness index readings and the average values of the dust concentration were as follow; the first month had 15% darkness and 82 microgram per cubic meter, the second month had 15% darkness and 67 microgram per cubic meter, and the third month had 20% darkness and 96 microgram per cubic meter. The finding shows that a simple equipment can indicates the concentrations of ambient particulate matter, and can be operated by a person with minimal training.

Keywords : Development of Dust Monitoring Equipment, Simple Dust Monitoring, Total Particulate Matter in Ambient Air

Article Details

บท
บทความวิจัย