รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีสาขาช่างอุตสาหกรรม

Main Article Content

พิทยา ชินะจิตพันธุ์
สบสันติ์ อุตกฤษฏ์
ชนะ กสิภาร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนารูปแบบที่เป็นรูปธรรมสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศึกษาเอกสารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในอดีต ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและศึกษาความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จากกลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ครูในสถานศึกษาและครูฝึกในสถานประกอบการ จำนวน 88 คน แล้วนำมาวิเคราะห์จัดทำเป็นชุดฝึกอบรมและส่วนสนับสนุน 3 องค์ประกอบ จากนั้นได้นำชุดฝึกอบรมไปจัดฝึกอบรมให้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและครูฝึกจากอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการและจากสถานศึกษาเครือข่ายอีก 4 แห่ง รวม 32 คน เมื่อฝึกอบรมแล้วได้นำรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาไปทดลองใช้ในสถานศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานประกอบการ ครู ครูฝึก และนักศึกษาฝึกอาชีพ รวม 80 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ชุดฝึกอบรม 6 หน่วย และส่วนสนับสนุน3 องค์ประกอบ คือ 1) ศูนย์เครือข่ายทวภิ าคี 2) ศูนย์ฝึกอบรม และ 3) ศูนย์บริการ เมื่อนำชุดฝึกอบรมไปใช้ในการอบรม ผลสัมฤทธิ์ของแบบทดสอบแสดงให้เห็นว่า ชุดฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ ครูและครูฝึกมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในระดับพึงพอใจมาก และเมื่อนำไปทดลองใช้ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งกำหนดให้เป็นอาชีวศึกษาจังหวัดนำร่อง ปรากฏผล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้จัดการสถานประกอบการหรือผู้ควบคุมการฝึกอาชีพ ครูและครูฝึกรวมทั้ง นักศึกษาฝึกอาชีพ ต่างมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: รูปแบบ ศูนย์เครือข่ายทวิภาคี ศูนย์ฝึกอบรมศูนย์บริการ

 

Abstract

The research was to develop the model for Dual Vocational Training (DVT) development on Industrial Trade program. The process was conducted through reviews on related literature, experts’ comments, previous feedbacks, as well as data regarding needs on the program development. The data were obtained from88 samples including teachers in the colleges under The Office of Vocational Education Commission, and trainers in the industries. Then a training module was developed and tried out with 32 samples. The model, comprising a training module and 3 supporting components were implemented with 80 participants encompassing colleges administrators, industrial managers, DVT trainers and trainees. The 6 phases of the designed module cover the sections on principles, vocational training plan, teaching practice, testing and evaluation, preparation and monitoring, and DVT networks along with 3 supporting components, i.e. the centers of network, training and services. After the try-out with colleges participating in the pilot project, the participants revealed a remarkably high level of satisfaction on the developed program.

Keywords: The Model, DVT Network Center, Training Center, Service Center

Article Details

บท
บทความวิจัย