การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรม เติมเต็มช่องว่างสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาชีพช่างยนต์

Main Article Content

สมใจ เพียรประสิทธิ์
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
พิสิฐ เมธาภัทร
ไพโรจน์ สถิรยากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเติมเต็มช่องว่างสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาชีพช่างยนต์ ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม คือแบบจำลองแบบซิป พบว่าการประเมินบริบทเพื่อหาหลักการและเหตุผลในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม สำหรับใช้กำหนดสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องต่างๆ กับสภาพจริงของหลักสูตรฝึกอบรม ส่วนการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวมของแบบประเมินมีความสอดคล้องกันสูง ส่วนการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูในวิชาชีพช่างยนต์ไปใช้ฝึกอบรม โดยนำหลักสูตรไปใช้กับกลุ่มทดลอง พบว่าประสิทธิภาพของชุดหลักสูตรฝึกอบรม(E1/E2) ด้านทฤษฎีเท่ากับ 89.35/85.75 ส่วนด้านปฏิบัติเท่ากับร้อยละ 83.25 การประเมินกระบวนการ ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม 89.27/85.70ผลคะแนนภาคปฏิบัติ เฉลี่ยร้อยละ 87.0 การประเมินผลผลิต ประสิทธิภาพของชุดหลักสูตรฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ด้านทฤษฎีเท่ากับ 90.15 / 86.79 ส่วนด้านปฏิบัติ เท่ากับ 86.45 / 82.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

คำสำคัญ: หลักสูตรฝึกอบรม ช่องว่างสมรรถนะ วิชาชีพช่างยนต์

 

Abstract

This research objective to develop training program development for teacher construct training program competency complete gap in mechanic professional. The sample groups were teachers in the field of motor vehicles who teach in the institutes under the supervision of the vocational education commission. The assessment pattern of Daniel L. Stufflebeam, CIPP model is applied in the research. The results showed that the context evaluation is conducted in order to determine background to set up the objectives of the training and environment related to real situation of the training course. The input assessment stated the high relation of the index of consistency in general. After applying the constructed course with the sample groups, it was found that the efficiency of the training course (E1/E2) in the theory aspect was 89.35/85.75.The practicality aspect was 83.25. The reliability of the test was 0.82. For the process assessment, the efficiency of the training course (E1/E2) was89.27/85.70. The average score of the practicality was87.0. The opinion evaluation on the application of the mechanics teachers training course was rated in high level. The product evaluation on the efficiency of the training course (E1/E2) in the theory aspect was90.15/ 86.79. The practicality aspect was 86.45/82.62,which was higher than the set criteria. The satisfaction assessment of the commanders on the training course showed that in general the satisfaction was rated in the highest level. The satisfaction of the teachers on the process of organizing the training course overall was found in high level.

Keywords: Training Course, Competency Gap, Mechanic Professional

Article Details

บท
บทความวิจัย