การดัดแปรวัตถุดิบด้วยวิธีทางฟิสิกส์เพื่อการผลิตอาหารสัตว์

Main Article Content

การุณ ทองประจุแก้ว
อุทัยวรรณ โกวิทวที

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุดิบอาหารและผลพลอยได้ทางการเกษตรหลายชนิดมีสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ไม่เหมาะสมต่อการย่อยของเอนไซม์ในสัตว์ การใช้วัตถุดิบดังกล่าวเพื่อเป็นส่วนผสมของอาหารจึงใช้ได้ในปริมาณจำกัดเนื่องจากสัตว์ย่อยได้ยาก และนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยส่งผลให้สัตว์มีการเจริญเติบโตช้า และการรอดชีวิตต่ำ การดัดแปรโครงสร้างของวัตถุดิบด้วยวิธีทางฟิสิกส์เช่น การต้ม การนึ่งด้วยความดันไอ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง คลื่นไมโครเวฟ รังสีแกมมา และลำแสงอิเล็กตรอน พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยวัตถุอาหาร โดยเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของวัตถุดิบให้เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร ลดปริมาณสารต้านโภชนาการโดยไม่ทำให้องค์ประกอบเชิงปริมาณของวัตถุดิบเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การดัดแปรโครงสร้างของวัตถุดิบหรือผลพลอยได้ทางการเกษตรโดยวิธีทางฟิสิกส์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ในอนาคต

คำสำคัญ: การดัดแปรโครงสร้าง อาหารสัตว์ ประสิทธิภาพการย่อย สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

 

Abstract

Many feed stuffs and agricultural by-products have inappropriate physicochemical properties for digestion by animal enzymes. The use of these raw materials as animal feed ingredients has been limited due to difficulties in digestion and utilization. This results in the reduction in growth and survival of animal.Structural modifications of the raw materials using physical methods such as boiling, autoclaving, ultrasonicwave, microwave irradiation, gamma irradiation and electron beam cause increase in animal digestibility. Physicochemical properties of raw materials are altered for optimizing digestive enzyme hydrolysis and also reducing antinutritional compounds. However,quantitative analysis and chemical compositions of raw materials are unchanged. Therefore, structural modification of raw materials or agricultural by-products using physical methods might be important for developing feed industry in the future.

Keyword: Structural Modification, Feed,Digestibility, Physicochemical Property

Article Details

บท
บทความวิชาการ