การนำของเสียประเภทฉลากกระดาษมาใช้ประโยชน์ในการทำ คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นโดยใช้ผงหินปูน-ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุประสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการนำของเสียประเภทฉลากกระดาษมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุแทนที่ในทรายบางส่วนที่ร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก โดยใช้ผงหินปูนร่วมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสานในการทำคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น ตลอดจนศึกษาลักษณะทางกายภาพและสมบัติทางเคมี เช่น การกระจายขนาดคละของมวลรวม ความสามารถในการชะละลาย กำลังรับแรงอัดความหนาแน่น และการดูดซึมน้ำ โดยเปลี่ยนอัตราส่วนผสมในทรายโดยใช้ของเสียประเภทฉลากกระดาษเป็นร้อยละ 0, 1, 1.5, 2, 2.5, 3, 3.5, 4, 4.5, 5, 7.5, 10 และ20 โดยน้ำหนักของทราย และแปรผันอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.5, 0.6, 0.7, 0.8, 0.9 และ 1 ในงานวิจัยครั้งนี้ใช้ผงหินปูนแทนที่ปูนซีเมนต์ที่ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ใช้สัดส่วนต่อทรายต่อหินเกล็ดในการผลิตคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น คือ 1 : 1.2 : 1.8 โดยน้ำหนักระยะเวลาบ่มที่ 7 วัน และ 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนวัสดุของของเสียประเภทฉลากกระดาษที่ร้อยละ 3.0 โดยน้ำหนักของทราย อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ 0.5ระยะเวลาบ่มที่ 28 วัน ทำให้คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นของกระทรวงอุตสาหกรรม
คำสำคัญ: ของเสียประเภทฉลากกระดาษ คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น ผงหินปูน วัสดุประสาน
Abstract
This research investigated the utilization of label waste as replacement material for making interlocking concrete paving blocks instead of using sand at 3% by weight and limestone powder-cement as a binder. The physical and chemical properties such as particle size distribution of aggregate, leachability, compressive strength; density and water absorption were studied. The experiments were undertaken by varying percent of label waste at 0, 1, 1.5, 2, 2.5, 3, 3.5, 4, 4.5, 5, 7.5, 10, and 20 by weight of sand and water to binder ratios were varied from 0.5, 0.6, 0.7, 0.8, 0.9 and 1. The condition for making concrete paving block was studied by replacing limestone powder at 10 percent by weight of cement as a binder. The ratio of binder: sand (3% by weight of label waste): gravel was1:1.2:1.8 by weight. Samples were cured at 7 and 28 days before being tested. The resultsshowed that the appropriate sand replacement with label waste was 3.0% by weight of binder; water-binder ratio was 0.5 by weight and a curing time of 28 days. The interlocking concrete paving blocks yielded the physical properties acceptable by the standard of interlocking concrete paving block promulgated by the Ministry of Industry.
Keywords: Paper Label Waste, Interlocking Concrete Paving Block, Limestone Powder, Binder
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น