ต้นแบบระบบสำหรับวัดขนาดที่แท้จริงของวัตถุจากภาพฟิล์มเอกซเรย์

Main Article Content

สุจิตรา อดุลย์เกษม
จิตดำรง ปรีชาสุข
วัลลภ อดุลย์เกษม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป (Conventional X-ray) ถูกนำไปใช้สร้างภาพทางการแพทย์และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ขนาดของวัตถุที่ปรากฏบนฟิล์มเอกซเรย์ไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของวัตถุอันเนื่องมาจากกำลังขยายของภาพ (Magnification)ไม่คงที่ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาต้นแบบระบบสำหรับวัดขนาดที่แท้จริงของวัตถุจากภาพฟิล์มเอกซเรย์ ซึ่งประกอบไปด้วยต้นแบบไม้บรรทัดอ้างอิงที่สะดวกต่อการใช้งานและมีต้นทุนต่ำ และโปรแกรมต้นแบบฯ ที่สามารถคำนวณหาขนาดที่แท้จริงของวัตถุจากภาพฟิล์มเอกซเรย์ได้ถูกต้อง แม่นยำ การทำงานของโปรแกรมต้นแบบแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการกำหนดไม้บรรทัดอ้างอิงที่มีการตรวจหาบริเวณของภาพที่เป็นไม้บรรทัดอ้างอิงและการแบ่งช่วงของไม้บรรทัดอ้างอิง ส่วนที่สองเป็นการคำนวณหาขนาดที่แท้จริงของวัตถุ โดยใช้ไม้บรรทัดอ้างอิงที่ได้จากการทำงานส่วนแรก ผลจากการทดลองพบว่าต้นแบบระบบฯ สามารถวัดขนาดของวัตถุบนภาพฟิล์มเอกซเรย์ ได้ถูกต้องแม่นยำ โดยมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้อง 99.48% จากเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องทำให้เชื่อมั่นได้ว่าต้นแบบระบบฯนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้

คำสำคัญ: การวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์ 2 มิติการประมวลผลรูปภาพทางการแพทย์กำลังขยายของภาพทางการแพทย์ การวัดรูปภาพเชิงปริมาณ

 

Abstract

Conventional X-ray machines are widely used to create medical images; however, a major drawback of it is that it cannot provide an original size of the object due to the magnification instability of the X-ray machine. Thus, a system prototype for accurate measurement of object size in X-ray image was developed. It consisted of a reference ruler, and software. The ruler was easy to use while the software worked in two steps. Firstly, it detected the location of the ruler and divided the sections of the ruler. Secondly, it calculated the accurate object size by using the reference ruler from the first step. According to the experiment, the software could measure the object size in X-ray films with an accuracy of 99.48%. This convinces that the developed system is appropriate, reliable, and effective to be used.

Keywords: 2D Medical Image Analysis, Medical Image Processing, Magnification of Medical Image, Quantitative Evaluation in Image

Article Details

บท
บทความวิจัย