ระบบพาราเมตริกฟีทเจอร์เบสเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เชิงแนวคิด สำหรับผลิตภัณฑ์เตียงนอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลอดเวลา ปัจจุบันผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ได้ประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (CAD) มาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อลดเวลาในการเขียนแบบลง อย่างไรก็ตาม การใช้งานโปรแกรม CAD สำเร็จรูปโดยทั่วไป ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีทักษะและความชำนาญในโปรแกรมนั้นๆ อีกทั้งยังต้องทราบถึงข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ของชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์จึงจะสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วตามที่ต้องการได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอการพัฒนาระบบฟีทเจอร์เบส เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ในขั้นตอนการออกแบบเชิงแนวคิด โดยทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์เตียงนอน งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้หลักการการออกแบบเชิงพาราเมตริก (Parametric Design) และการออกแบบด้วยฟีทเจอร์แบบคอนสตรัคทีฟ โมเดลลิ่ง (Design by Feature – Constructive Modeling) โดยเริ่มจากการศึกษาโครงสร้างของผลิตภัณฑ์เพื่อแบ่งหมวดฟีทเจอร์และพัฒนาฟีทเจอร์โดยการสร้างตัวแบบโซลิด (Nominal Solid Model) เพื่อแปลงเป็นเอกสารแมโคร (Macro File)ด้วยส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (API) จากนั้นจึงนำมาแก้ไขด้วยการกำหนดรหัส (Coding) ด้วย VBA และนำมาเก็บไว้ในห้องสมุดฟีทเจอร์ (Feature Library) ผลจากงานวิจัยนี้พบว่า ระบบฟีทเจอร์เบสที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ใช้งานที่ไม่ชำนาญการใช้งานโปรแกรม CAD สามารถสร้างออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงแนวคิดได้ ซึ่งช่วยลดภาระงานของผู้ออกแบบ และช่วยลดระยะเวลาโดยเฉลี่ยการออกแบบแบบจำลองผลิตภัณฑ์เชิงแนวคิดจาก 1,553 วินาที เหลือเพียง48 วินาทีต่อ 1 ชุด
คำสำคัญ: การออกแบบเชิงแนวคิด การออกแบบเชิงพาราเมตริก ฟีทเจอร์เบส
Abstract
Furniture is a kind of products whose feature and style need changes all the time. Presently, application of CAD software is made by some furniture designers to lessen the amount of time spent on designing. It is,however, necessary for CAD users to have expertise and skills in application of the software. In addition,they have to know the product and part specification so that they can rapidly design them. This study, therefore,developed a feature-based system for conceptual design phase as a tool to help designers. Only beds were studied and designed. The principles of parametric design and features–constructive modeling were applied in the study. The structure of the products was examined to classify their features. Then the features were developed by creating a nominal solid model to convert the Macro file into API. The API file would then be encoded with VBA and edited. All features would be kept in the feature library. The result of this study indicated that the developed feature-based system could help the designers who were not skillful in using CAD to do the conceptual design better. It also helped to reduce their design work load and average time consumption from 1,553 to 48 seconds per set.
Keywords: Conceptual Design, Parametric Design,Feature-base
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น