การหาประสิทธิภาพของหัวดูดวัสดุ

Main Article Content

พรชัย จงจิตรไพศาล
สำรวย เกษตรสกุลชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จะทำงานเปรียบเทียบพลังงานที่ใช้สำหรับดูดวัสดุ โดยใช้หัวดูดวัสดุแบบหัวดูดวัสดุ 2 ชั้น ซึ่งเป็นหัวดูดวัสดุที่ใช้กับวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงได้ดี ในขณะที่วัสดุอยู่ในสภาพกองวัสดุ และอยู่ในสภาพพร้อมไหลได้เหมือนของไหล (Fluidized) ผลของการทดลองพบว่าในกรณีที่วัสดุอยู่ในสภาพกองวัสดุ ระยะหัวดูดจะมีผลต่ออัตราการขนถ่าย และกำลังที่ใช้ขนวัสดุมาก ในช่วงที่หัวดูดชั้นในและชั้นนอกอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ถ้าระยะหัวดูดชั้นในกับชั้นนอกมีระยะที่แตกต่างกันมากจะไม่ค่อยมีอิทธิพลต่ออัตราการขนถ่ายวัสดุเท่าไรนัก ในกรณีที่อยู่ในสภาพพร้อมไหลได้เหมือนของไหล (Fluidized) ระยะของหัวดูดมีอิทธิพลต่ออัตราการขนถ่ายวัสดุและกำลังที่ใช้ขนถ่ายวัสดุน้อยมาก เนื่องจากมีลมโดยรวมเข้าไปในท่อมากเกินไปส่วนพลังงานที่ใช้ขนถ่ายวัสดุต่ออัตราการขนถ่ายวัสดุนั้นถ้าท่อดูดด้านในอยู่ต่ำกว่าท่อดูดด้านนอก การขนวัสดุในกรณีที่ลมจ่ายเพื่อให้เกิดสภาพ Fluidized การใช้พลังงานต่อหน่วยของการขนวัสดุจะมีแนวโน้มน้อยลง และในทางตรงกันข้ามถ้าท่อดูดด้านในอยู่สูงกว่าท่อดูดด้านนอกการใช้พลังงานต่อหน่วยของการขนวัสดุจะมากกว่า ซึ่งหมายถึงการใช้ท่อดูดชั้นเดียวจะเหมาะสมกว่า สำหรับขณะที่วัสดุอยู่ในสภาพกองวัสดุพลังงานต่อหน่วยของการขนวัสดุเปลี่ยนแปลงน้อยมากในขณะที่ระยะหัวดูดเปลี่ยนไป

คำสำคัญ: หัวดูดวัสดุ ระบบขนการถ่ายวัสดุแบบสุญญากาศ

 

Abstract

This paper presents a comparison of energyconsumed by a double tube suction nozzle suckinga big pile of powder and fluidized material. Thespecial property of this kind of nozzle is that it can suckpowder material well. According to the experiment,the distance between the nozzle and the piling materialmuch affected the handling rate and energy consumedwhen the inner and the outer tubes were placed at acloser distance. If the distance between the inner andouter tubes was much different, it hardly affectedthe handling rate. Regarding fluidized material, thedistance between the nozzle and the fluid less affectedthe handling rate and energy consumption due to theexcessive air in the tube. If the inner tube was placedlower than the outer, the energy consumption rate of thenozzle tended to be less and vice versa. This indicatedthat using single tube nozzle was more appropriate. As for the material in a big pile, little change of energyconsumption could be observed when the distancebetween the nozzle and the material varied.

Keyword: Suction Nozzle, Vacuum ConveyingSystem

Article Details

บท
บทความวิจัย