การเปรียบเทียบสภาวะอากาศภายในอาคารระหว่างอาคาร ที่ใช้ผนังคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมตะกอนน้ำตาล กับคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมไมโครไฟเบอร์

Main Article Content

บวร อิศรางกูร ณ อยุธยา
ปรีดา จันทวงษ์
โยธิน อึ่งกูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะทางความร้อนระหว่างอาคารจำลองทั้งสองหลังที่ใช้ผนังคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมตะกอนน้ำตาล (AAC-SS) กับผนังคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมไมโครไฟเบอร์ (AAC - Microfiber) ทำการเปรียบเทียบโดยใช้บ้านจำลองขนาดเล็กมีผนัง 4 ด้านแต่ละด้านมีขนาดพื้นที่เท่ากับ 2.7 ตร.ม. มีขนาดปริมาตรเท่ากับ 4.05 ลบ.ม. ผนังมีความหนาเท่ากับ 0.075 ม.ไม่ฉาบปูนและไม่ทาสีบนผนังทั้งภายในและภายนอกทำการทดลองโดยปิดเครื่องปรับอากาศและปิดประตูหน้าต่างทุกบาน ผลจากการศึกษาพบว่าอาคารที่ใช้ผนัง AAC-SS จะมีอุณหภูมิและความชื้นอากาศภายในสูงกว่าบ้านที่ใช้ผนัง AAC – Microfiber ประมาณ0.3-5oC และ 0.002 kg/kg ผลจากการทดลองนี้ยืนยันได้ถึงประสิทธิภาพที่ดีในด้านสมรรถนะทางความร้อน และสามารถลดความชื้นอากาศของผนังAAC - Microfiber ภายใต้สภาพอากาศแบบร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ: ผนังคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมตะกอนน้ำตาล (AAC-SS) ผนังคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำผสมไมโครไฟเบอร์(AAC-Microfiber) การอนุรักษ์พลังงาน

 

Abstract

This paper reports a comparison of hygrothermal performance of two house models with walls made of autoclaved aerated concrete (AAC) but mixed with different materials; the walls of the first one were mixed with sugar sediment (AAC-SS) while those of the second with microfiber (AAC-Microfiber). The experimented houses had 4 walls with the area of 2.7 m2each and 4.05 m3 in volume. The wall thickness was 0.075 m. Neither coat nor paint on internal and external surfaces was applied. The houses’ air conditioners were turned off, and all doors and windows were closed during experiments. It was found that the house with AAC-SS walls had indoor temperature of0.3-5°C and moisture content of 0.002 kg/kg higher than that with AAC-Microfiber wall. This confirmed that AAC-Microfiber had better hygrothermal performance and could reduce more moisture content in tropical climate like in Bangkok.

Keywords: Autoclaved Aerated Concrete Mixed with Sugar Sediment (AAC-SS), Autoclaved Aerated Concrete Mixed with Microfiber (AAC-Microfiber), Energy Saving

Article Details

บท
บทความวิจัย