การศึกษาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของผ้าเบรกโดยวิธีการทดสอบทางเลือก

Main Article Content

ศุภชัย หลักคำ
กุลยศ สุวันทโรจน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ได้มีการเติบโตอย่างมากในประเทศไทย ผ้าเบรกเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่เนื่องจากวิธีการทดสอบและเครื่องทดสอบที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่แท้จริงนั้นมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นงานวิจัยจึงได้คิดค้นและออกแบบสร้างเครื่องทดสอบวัสดุความเสียดทานตามรูปแบบมาตรฐาน The Special Test Jigs for Friction Measurements JIS K7125 มาประยุกต์ใช้ร่วมกับมาตรฐาน Clutch Facings for Automobiles JISD4311 โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต (μs) และค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์(μk) ในสภาวะอุณหภูมิและภาระน้ำหนักที่แตกต่างกันและใช้ตัวอย่างผ้าเบรก 3 ชนิด ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมมาทำการทดสอบและเปรียบเทียบกับผลทดสอบจากเครื่อง Pin on Disk ที่ถูกทดสอบโดยบริษัทฯ ผู้ผลิตผ้าเบรก ซึ่งผลการทดสอบของผ้าเบรกทั้ง3 ชนิด สะท้อนให้เห็นว่าผลการทดสอบที่ได้จากเครื่องทั้ง 2 แบบ มีแนวโน้มที่สอดคล้องกัน โดย Pin on Disk ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่สูงกว่าเครื่อง Friction Testingเท่ากับ 19.56% และค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานมีแนวโนม้ ที่จะแปรผนัตามอุณหภูมินอกจากนี้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตจะมีค่าสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์จะมีความแตกต่างกันมากขึ้นเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะความดันสูง

คำสำคัญ: สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์

 

Abstract

Nowadays, automotive industry in Thailandgrows rapidly. Brake pads play an important role inthe industry as they are the most vital security part ofautomobiles. Testing the products is, consequently,necessary. However, effective testing method andequipment are costly. This study was conducted tocreate a tool for testing material friction, basing onThe Special Test Jigs for Friction MeasurementsJIS K7125 and Clutch Facings for Automobiles JISD4311 standards. Coefficient of static friction (μs)and kinetic friction (μk) in different temperature andload were calculated. Three kinds of brake pads given by automobile companies were tested. The resultsobtained from the constructed tool and from Pinon Disk machine operated by brake pad productioncompanies were compared. It was found that theresults of the testing from both tools were slightlydifferent; the friction coefficient of Pin on Disk was19.56% higher than that of the constructed tool.The friction coefficient tended to vary according totemperature change. Besides, the coefficient of thestatic friction (μs) was higher than that of the kineticone (μk) and tended to be more different in higherpressure condition.

Keywords: Coefficient of Friction, Static Friction,Kinetic Friction

Article Details

บท
บทความวิจัย