การวิเคราะห์วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านไมโครสตริปโดยใช้อิมพีแดนซ์แบบขั้น และการคับปลิ้งแบบขนานปลายเปิดด้วยวิธีการวนรอบของคลื่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะหว์งจรกรองความถี่ต่ำผ่านไมโครสตริปที่มีโครงสร้างเป็นอิมพีแดนซ์แบบขั้นและใช้การคับปลิ้งแบบขนานปลายเปิดที่ให้ย่านแถบหยุดกว้าง โดยใช้วิธีการวนรอบของคลื่น ที่มีการคำนวณขนาดของคลื่นที่ตกกระทบและสะท้อนกลับในสองโดเมนคือโดเมนทางสเปคตรัม สำหรับคลื่นที่ปรากฏในชั้นของไดอิเล็กตริก และโดเมนทาพิกเซล สำหรับคลื่นที่ปรากฏบนผิวของวงจร การเชื่อมโยงระหว่างคลื่นทั้งสองโดเมนนี้ จะอาศัยตัวแปลงทางโหมดความเร็วสูง ซึ่งอาศัยหลักการของการแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว ผลการวิจัยพบว่าวิธีการวนรอบของคลื่นที่นำเสนอสามารถวิเคราะห์ค่าขนาดของสนามไฟฟ้าแลสนามแม่เหล็ก ค่าพารามิเตอร์กระจัดกระจายมีความสอดคล้องกับโปรแกรม Sonnet Liteเวอร์ชัน 12.53 โดยที่วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านที่นำเสนอมีย่านแถบหยุดกว้าง ขนาดเล็ก และต้นทุนในการผลิตต่ำ
คำสำคัญ: วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านไมโครสตริป วิธีการวนรอบของคลื่น อิมพีแดนซ์แบบขั้น คับปลิ้งแบบปลายเปิด
Abstract
This research presents an analysis of low pass filtercircuit via microstrip with step-impedance structure, usingopen ended parallel coupling and wave iterative method(WIM) that yields wide stop band. Within this method, acalculation of reflected wave amplitudes was made in twodomains; spectrum domain for the waves that appearedin the di-electric, and pixel domain for those in the circuitsurface. The high speed mode transformer was usedto connect the waves in those two domains, basing onFast Fourier Transform (FFT). It was found that the presentedWIM could calculate the size of electric and magnetic fieldas well as the scattering parameter. The findings wellaccorded with the SONNET Lite version 12.53 program.The microstrip low pass filter circuit was small in size and hasa wide stop band. Moreover, its production cost was low.
Keywords: Microstrip Low Pass Filter, Wave IterativeMethod, Step Impedance, Open EndedParallel Coupling
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น