การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้สารเคมีกับปัจจัยคุณภาพน้ำดิบโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล กรณีศึกษา การประปานครหลวง

Main Article Content

ปฏิพัทธ์ ทิพย์กาญจนรัตน์
ธนัญญา วสุศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

น้ำที่มาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีความไม่แน่นอนทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ การประปานครหลวงเห็นถึงความต้องการใช้น้ำสะอาดที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้ทำการจัดตั้งระบบการผลิตหรือบำบัดน้ำให้มีความสะอาด และได้มาตรฐานการบำบัดน้ำอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องทราบคุณลักษณะของน้ำที่นำมาใช้ในการผลิตที่เรียกว่า “น้ำดิบ” ที่มีคุณภาพแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลาโดยสามารถแบ่งตัวแปรด้านคุณภาพน้ำดิบที่สำคัญออกเป็น 14 ตัวแปรได้แก่ ปริมาณน้ำดิบ สีของน้ำ เหล็ก ความขุ่น เป็นต้น ตัวแปรทั้งหลายเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณการใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำให้ได้มาตรฐาน โดยสารเคมีที่ใช้ในการบำบัดน้ำที่สำคัญแบ่งออกเป็น 7 ชนิดคือสารส้ม คลอรีน ปูนขาว โพลิเมอร์โพลีอลูมิเนียมคลอไรด์ผงถ่าน และ H2O2 ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้สารเคมีกับตัวแปรคุณภาพน้ำดิบ โดยจะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปรที่เรียกว่าการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation) โดยผลจากการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ชุด และมีค่าความสัมพันธ์ Canonical R เท่ากับ 0.9489

คำสำคัญ: น้ำ การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร คุณภาพน้ำดิบ ปริมาณการใช้สารเคมี

Abstract

Water from natural resources is uncertain in terms of volume and quality. Metropolitan Waterworks Authority (MWA) has realized the increasing demand of high quality water. It has set up a water treatment system to obtain purified and standardized water. To treat water effectively, it is necessary to understand the quality of incoming water or “raw water”. The quality of raw water depends on 14 factors such as raw water volume, color, iron and turbidity. These 14 factors affect the consumption of chemical substances that are used to purify the raw water. The chemical substances are Alum, Chlorine, Lime, Polymer, PACl, Activated Carbon and H2O2. This study is aim to study the relationship between factors of raw water quality and the consumption of chemical use with Canonical Correlation techniques. It is found that there is the relationship between these two things with Canonical R of 0.9489.

Keywords: Water, Canonical Correlation, Raw Water Factors, Chemical Substance Usages

Article Details

บท
บทความวิจัย