การตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่อาจต้องสูญเสีย ภายใต้ความเสี่ยงและความกำกวม

Main Article Content

ภาวิตา อภินันท์ธรรม
ดลชัย ละออนวล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

คนเรามักจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในชีวิต ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการสูญเสีย เช่น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ และภัยพิบัติ ในสาขาวิชาศาสตร์แห่งการตัดสินใจ ความไม่แน่นอนเหล่านี้สามารถจำแนกได้ตามความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมด กรณีที่ผู้ที่จะทำการตัดสินใจทราบความน่าจะเป็นที่แท้จริงเรียกว่าความเสี่ยงส่วนกรณีที่ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แท้จริงเรียกว่าความคลุมเครือ งานวิจัยนี้ศึกษาประเภทความไม่แน่นอน ระหว่างความเสี่ยงกับความคลุมเครือ และโครงสร้างของผลลัพธ์ ระหว่างความไม่แน่นอนเหตุการณ์เดียวกับความไม่แน่นอนที่เทียบเท่าหลายเหตุการณ์ที่ผลกระทบต่อการประเมินค่าของการสูญเสีย บทความนี้รายงานผลการทดลองกับคนทำงาน 81 คนในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยใช้เงินจริง ผลการศึกษาพบว่าคนส่วนมากพอใจกับความเสี่ยงมากกว่าความคลุมเครือ และพอใจกับความไม่แน่นอนหลายเหตุการณ์มากกว่าความไม่แน่นอนเทียบเท่าเหตุการณ์เดียวผลการศึกษาที่น่าสนใจมากคือความไม่สอดคล้องกันระหว่างทัศนคติเรื่องความเสี่ยงและพฤติกรรมการกระจายความเสี่ยงคนส่วนใหญ่พอใจกับความเสี่ยงท่ามกลางการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น และยังพอใจกับความไม่แน่นอนหลายเหตุการณ์มากกว่าความไม่แน่นอนเทียบเท่าเหตุการณ์เดียว ผลการค้นคว้านี้สามารถนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นและการปรับปรุงการตัดสินใจเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวของบุคคล

คำสำคัญ: การกระจายความเสี่ยง ความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความเสี่ยง การตัดสินใจ ความสูญเสีย

Abstract

People constantly face uncertain prospects in life, many of which may result in losses such as illnesses, accidents, and disasters. In the field of Decision Sciences, these uncertainties can be further differentiated according to the decision-maker’s knowledge of the probabilities for all possible outcomes. Prospects in which these probabilities are precisely known are called risky, while those in which the probabilities are imprecisely known are called ambiguous. This study explores how these different probability precisions of risk versus ambiguity, as well as outcome structures of a single prospect versus comparable multiple prospects, can affect people’s evaluations of uncertain losses. The paper presents a series of experiments involving 81 Thai working adults in business and industrial sectors using real monetary losses as a condition. Results reveal that people are generally averse to ambiguity in comparison to risk. In addition, they prefer multiple prospects over a comparable single one in general. Most interestingly, there seems to be inconsistencies between individuals’ risk attitudes and their diversification behaviors. In particular, the majority of the participants are risk-seeking with respect to potential losses, yet most preferred multiple prospects over a comparable single one. These findings can lead to better understanding and improvement of both professional and personal decisions by individuals.

Keywords: Diversification, Ambiguity, Uncertainty, Risk, Decision-making, Losses

Article Details

บท
บทความวิจัย