การประยุกต์ใช้วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์และการจำลองสถานการณ์ในการเพิ่มความสามารถในการผลิตของกระบวนการดัดท่อ: กรณีศึกษา บริษัทผลิตท่อน้ำมัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาและปรับปรุงความสามารถในการผลิตของกระบวนการผลิตท่อน้ำมันอันเนื่องจากกระบวนการผลิตท่อน้ำมันในส่วนของกระบวนการดัดท่อ ไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษามีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นเกินความสามารถของกระบวนการผลิตปัจจุบันผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงความสามารถในการผลิตของกระบวนการดัดท่อ ด้วยการออกแบบเครื่องมือดัดท่อและออกแบบโปรแกรมใหม่ โดยนำหลักของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์และการจำลองสถานการณ์มาทำการวิเคราะห์และปรับปรุงความสามารถของกระบวนการดัดท่อ จากแนวทางในการปรับปรุงสามารถกำหนดวิธีแก้ปัญหา โดยการออกแบบเครื่องมือและการออกแบบโปรแกรมของเครื่องดัดท่อใหม่เพื่อปรับปรุงกระบวนการดัดท่อ ผลการวิจัยและทดลองพบว่ากระบวนการผลิตหลังปรับปรุงสามารถลดจำนวนของเครื่องดัดท่อได้ 1 เครื่องลดจำนวนของพนักงานได้ 2 คน ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดัดท่อได้ 2,300,000 บาท ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานได้ 353,875 บาทต่อปีและทำให้ความสามารถของกระบวนการดัดท่อเพิ่มขึ้นจากเดิม 50%
คำสำคัญ: วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์การจำลองสถานการณ์กระบวนการดัดท่อ
Abstract
The objective of this research is to study and improve productivity of oil pipe manufacturing process due to the fact that the customer demand is exceeding the current supply of oil pipe bending manufacturing process. The researcher developed production capability of the pipe bending process by designing a new bending tool and an innovative program by applying the principle of concurrent engineering and computer simulation to analyze and develop the pipe bending process. The result revealed that the production capability after the improvement was better, i.e. the reduction of two labors and one pipe bending machine in manufacturing process. This reduced 2,300,000 baht of the machine purchasing cost and 353,875 baht/year of labor cost and increased the pipe bending capability by 50%.
Keywords: Concurrent Engineering, Simulations, Pipe Bending Process
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น