การกำหนดจุดจอดรถปฏิบัติการฉุกเฉินที่เหมาะสม โดยพิจารณาระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย: กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

พลอยพรรณ ศรีกิจการ
สุนาริน จันทะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีแนวโน้มการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินผ่านหมายเลข 1669 เพิ่มขึ้นทุกปีระยะเวลาตอบสนองมาตรฐานถูกกำหนดขึ้นเพื่อประกันคุณภาพของการให้บริการแต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การวางตำแหน่งจุดจอดและการจัดสรรจำนวนรถปฏิบัติการฉุกเฉินที่เหมาะสม และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ อันจะทำให้รถปฏิบัติการฉุกเฉินไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างทั่วถึงภายในระยะเวลาที่กำหนดงานวิจัยนี้จึงนำเสนอการกำหนดตำแหน่งจุดจอดรถปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อให้สามารถครอบคลุมจำนวนผู้ที่ต้องการรับบริการมากที่สุด ในการพิจารณาได้แบ่งประเภทรถปฏิบัติการฉุกเฉินและการกำหนดเวลาตอบสนองมาตรฐานสำหรับเดินทางไปยังที่เกิดเหตุให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของอาการผู้เจ็บป่วย รวมถึงวิเคราะห์ความน่าจะเป็นที่ยานพาหนะจะไม่ว่างเพื่อทำการจัดสรรจำนวนรถปฏิบัติการฉุกเฉินให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์จัดการ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ในขั้นตอนของการเตรียมข้อมูลนำเข้า ปัญหาถูกนำมาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบกึ่งจำนวนเต็ม เพื่อค้นหาตำแหน่งจอดที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่กรณีศึกษา ได้แก่ พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีจากผลการทดลอง พบว่าการปรับปรุงจุดจอดรถปฏิบัติการฉุกเฉินตามตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่นำเสนอใหม่สามารถให้บริการครอบคลุมจำนวนผู้ที่ต้องการรับบริการเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 8.6

คำสำคัญ: ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ปัญหาการเลือกตำแหน่งที่ตั้ง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Abstract

The requests on emergency medical service via 1669 in Thailand are increasing every year. The standard response time is set to ensure the quality of service. However, an appropriate guideline for locating and allocating emergency medical service units is not set as a standard for the whole country, which leads to the inability to serve the needs of patients thoroughly within the time limit. In this research, a method of determining the locations of emergency medical service units was proposed in order to maximize the coverage of patient’s demand. Different types of vehicles and standard response times were classified according to the severity of patient’s condition. The probability of a vehicle being busy was analyzed for allocating enough number of vehicles in each area. The application of Geographic Information System was applied to analyze, manage, and display spatial data during data input process. The problem was formulated as a mixed integer mathematical model to find the optimal locations for the case study area: Muang District, Prachin Buri Province. Based on the experiments, the new locations suggested by the proposed model covered the patient’s demand better than the current locations of 8.6%.

Keywords: Emergency Medical Service, Facility Location Problem, Geographic Information System

Article Details

บท
บทความวิจัย