การเปรียบเทียบเชิงสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของปาล์มน้ำมัน ที่ปลูกในพื้นที่นาร้างและพื้นที่เหมาะสม

Main Article Content

สรพงค์ เบญจศรี
ภาณุมาศ พฤฒิคณี
สกุลรัตน์ แสนปุตะวงษ์
สกุลกานต์ สิมลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

สัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาเชิงเปรียบเทียบของปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 2 และ 4 ปี ในพื้นที่นาร้างและพื้นที่เหมาะสม ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 20 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าปาล์มน้ำมันอายุ 2 ปี จากพื้นที่ทดลองซึ่งต่างกันมีน้ำหนักทางใบสด น้ำหนักแผ่นใบสดน้ำหนักสดรวมของทางใบและแผ่นใบ แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยในพื้นที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 373.12, 440.97 และ 814.09 กรัม ตามลำดับ ส่วนในพื้นที่นาร้างมีค่าเท่ากับ 298.31, 392.53 และ 690.84 กรัม ตามลำดับและน้ำหนักทางใบแห้ง น้ำหนักแผ่นใบแห้ง และน้ำหนักแห้งรวมของแผ่นใบและทางใบ มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเช่นกัน โดยในพื้นที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 183.40, 259.46 และ 442.86 กรัม ตามลำดับส่วนในพื้นที่นาร้างมีค่าเท่ากับ 107.41, 174.17 และ 281.58 กรัม ตามลำดับ สำหรับปาล์มน้ำมันอายุ 4 ปีพบว่าน้ำหนักทางใบสด น้ำหนักแผ่นใบสด น้ำหนักสดรวมของทางใบ และแผ่นใบ มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p ≤ 0.01) โดยในพื้นที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 544.50, 652.18 และ1,196.68 กรัม ตามลำดับส่วนในพื้นที่นาร้างมีค่าเท่ากับ 498.86, 538.44 และ 1,037.30 กรัม ตามลำดับ น้ำหนักทางใบแห้ง น้ำหนักแผ่นใบแห้ง และน้ำหนักแห้งรวมแผ่นใบและทางใบ พบว่ามีค่าความแตกต่างทางสถิติอย่างนัยสำคัญยิ่งเช่นเดียวกับลักษณะอื่นๆ โดยในพื้นที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 274.97, 339.68 และ 614.65 กรัม ตามลำดับ และในพื้นที่นาร้างมีค่าเท่ากับ 206.15, 273.55 และ 479.70 กรัม ตามลำดับ

คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน การเติบโต พื้นที่นาร้าง

Abstract

The comparative morphology and physiology study on two and four years old of oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) in abandoned rice fields and appropriate areas were carried out at the Thaksin University, Phatthalung Campus between January and December 2012. The experimental design was a Completely Randomized Design (CRD) with 20 replications. The results showed that leaf stalk fresh weight, leaflet fresh weight, total weights of leaf stalks and leaflets were significantly different in two year old oil palm from those in the dissimilar experimental areas. Those fresh weights in an appropriate areas were 373.12, 440.97 and 814.09 grams, respectively whereas those in the abandoned rice fields were 298.31, 392.53 and 690.84 grams, respectively. Leaf stalk dry weight, leaflet dry weight and total weight of leaf stalk and leaflet were also significantly different. In appropriate areas, those dry weights were 183.40, 259.46 and 442.86 grams, respectively while those in the abandoned rice fields were 107.41, 174.17 and 281.58 grams, respectively. For the four year old oil palms, it was found that the fresh weight leaf stalk, fresh leaflet and the total fresh weight of leaf stalk and leaflets were significantly different (p ≤ 0.01). In the appropriate areas, the weights were 544.50, 652.18 and 1,196.68 grams, respectively. However, in abandoned rice fields, the weights were 498.86, 538.44 and 1,037.30 grams, respectively. The dry weight of leaf stalk, leaflet and the total dry weight leaf stalk and leaflet, were also significantly different. In the appropriate areas, the weights were 274.97, 339.68 and 614.65 grams, respectively and in the abandoned rice field, the weights were 206.15, 273.55 and 479.70 grams, respectively.

Keywords: Oil palm (Elaeis guineensis Jacq.), Growth, Abandoned Rice Field.

Article Details

บท
บทความวิจัย